มาตรา 372 | ประมวลกฎหมายอาญา |

 

ประมวลกฎหมาย
อาญา
ภาค 3 ลหุโทษ

ภาค 3 ลหุโทษ

ลหุโทษ

หน้าก่อน

 

     มาตรา ๓๗๒  ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถาน หรือกระทำโดยประการอื่นใดให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

* มาตรา ๓๗๒  แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ.๒๕๕๘ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๐ ก หน้า ๔๕ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘)

หนังสือประมวลกฎหมายอาญา
คำอธิบาย

    ...

คำพิพากษาศาลฎีกา

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]
    วันที่เพิ่ม : วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เวลา 20:40:54
    ปรับปรุงล่าสุด : วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เวลา 20:53:49


    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 372    มาตรา ๓๗๒
        ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถาน หรือกระทำโดยประการอื่นใดให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท


    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 1362 / 2508
    ร้านขายของเป็นสถานที่เชื้อเชิญให้ผู้มีธุระเกี่ยวข้องเข้าไปได้จึงไม่ไช่ที่รโหฐาน แต่เป็นที่สาธารณสถาน

    คำพิพากษาย่อสั้น

    ที่เกิดเหตุเป็นร้านค้าและเป็นที่ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้จึงเป็นสาธารณสถานตามมาตรา 1(3) เมื่อจำเลยทะเลาะกันอื้ออึงในสาธารณสถานจึงเป็นผิดมาตรา 372 ข้อที่ว่าที่เกิดเหตุเป็นเคหสถานหรือไม่ หาใช่ประเด็นแห่งคดีไม่
    จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฝ่ายหนึ่ง จำเลยที่ 3 ถึงที่8 อีกฝ่ายหนึ่ง ทะเลาะกันอื้ออึงในสาธารณสถาน ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เพียงแต่เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ถึง ที่ 8 เป็นจำเลยต่อศาลอาญา(ฐานบุกรุกทำร้ายร่างกาย) ในคดีเกี่ยวพันกันนี้โดยในชั้นนี้ศาลอาญาเพียงแต่รับฟ้องไว้พิจารณา ย่อมไม่เป็นการขัดขวางต่อการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ถูกผู้ว่าคดีฯ ฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลแขวงซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจชำระในความผิด(ฐานทะเลาะกันอื้ออึงในสาธารณสถาน) ซึ่งมีอัตราโทษต่ำกว่าและมิใช่เป็นกรณีตามมาตรา 24 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งศาลแขวงฯ มิได้ตกลงกับศาลอาญาสั่งให้ไปฟ้องยังศาลอาญาตามมาตรา 25 ส่วนมาตรา24 วรรคสาม บัญญัติถึงความผิดอันเกี่ยวพันกัน มีอัตราโทษอย่างสูงเสมอกัน ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในคดีนี้

    คำพิพากษาย่อยาว

    โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฝ่ายหนึ่ง จำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 อีกฝ่ายหนึ่งทะเลาะกันอื้ออึงในร้านขายผ้าของจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ตอนหน้าร้านซึ่งเป็นสาธารณสถานขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 372

    จำเลยให้การปฏิเสธ

    ศาลแขวงพระนครเหนือพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 7 ผิดมาตรา 372 ปรับคนละ 300 บาท ลดโทษให้จำเลยที่ 3 ที่ 7 คนละกึ่ง คงปรับคนละ 150 บาท จำเลยนอกนั้นให้ยกฟ้อง

    จำเลยที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 และบุคคลอื่นเป็นจำเลยต่อศาลอาญาว่า สมคบกันบุกรุกทำร้ายร่างกายและสั่งประทับฟ้องไว้พิจารณาก่อนผู้ว่าคดียื่นฟ้องคดีนี้ ซึ่งคดีทั้ง 2 เป็นมูลคดีเดียวกัน เกิดในวาระเดียวกันกรรมเดียวกัน สถานที่เดียวกัน ศาลแขวงพระนครเหนือจึงไม่ชอบที่จะรับฟ้อง คำพิพากษาคดีนี้จึงไม่มีผลบังคับแก่จำเลยและเหตุเกิดในเคหสถานไม่ใช่สาธารณสถาน ไม่เป็นผิดมาตรา 372 ขอให้ยกฟ้อง

    ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

    จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกา ศาลชั้นต้นรับเฉพาะข้อกฎหมาย

    ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218, 222 คือ ที่เกิดเหตุเป็นร้านค้าและเป็นที่ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ดังนี้ เห็นว่าที่เกิดเหตุจึงเป็นสาธารณสถานตามมาตรา 1(3) แห่งประมวลกฎหมายอาญา จำเลยทะเลาะกันอื้ออึงในสาธารณสถานจึงเป็นผิดมาตรา 372 ข้อที่ว่าที่เกิดเหตุเป็นเคหสถานหรือไม่ หาใช่ประเด็นแห่งคดีไม่

    และเห็นว่า การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เพียงแต่ฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 เป็นจำเลยต่อศาลอาญาในคดีเกี่ยวพันกันนี้ โดยในชั้นนี้ศาลอาญาเพียงแต่รับฟ้องไว้พิจารณา ย่อมไม่เป็นการขัดขวางต่อการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ถูกผู้ว่าคดีฯ ฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลแขวงพระนครเหนือ และเห็นว่ามิใช่เป็นกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 24 วรรคสอง ทั้งปรากฏว่าศาลแขวงฯ มิได้ตกลงกับศาลอาญาสั่งให้ไปฟ้องยังศาลอาญาตามมาตรา 25 ฉะนั้น ศาลแขวงฯจึงเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ส่วนข้อความในวรรคสาม แห่งมาตรา 24 ได้บัญญัติถึงความผิดอันเกี่ยวพันกัน มีอัตราโทษอย่างสูงเสมอกัน ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในคดีนี้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัย

    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 372
    ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 24
    ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 25

    ผู้พิพากษา

    ไฉน บุญยก
    จิตติ ติงศภัทิย์
    เพรียง โรจนรัส



    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

แสดงความคิดเห็น

    ...

บันทึกส่วนตัว

Visitor Statistics
» 1 Online
» 7 Today
» 124 Yesterday
» 892 Week
» 4499 Month
» 201431 Year
» 1452836 Total
Record: 10208 (10.06.2023)
Free PHP counter

ทบทวน สรุปย่อ สอบทนายความ ภาคทฤษฎี"
Sheet-สรุป-แบบฝึกหัด-สอบทนายความ

ทบทวน สรุปย่อ สอบทนายความ ภาคปฏิบัติ"