มาตรา 377 | ประมวลกฎหมายอาญา |

 

ประมวลกฎหมาย
อาญา
ภาค 3 ลหุโทษ

ภาค 3 ลหุโทษ

ลหุโทษ

หน้าก่อน

 

     มาตรา ๓๗๗  ผู้ใดควบคุมสัตว์ดุหรือสัตว์ร้าย ปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้นเที่ยวไปโดยลำพัง ในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

* มาตรา ๓๗๗  แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ.๒๕๕๘ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๐ ก หน้า ๔๕ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘)

หนังสือประมวลกฎหมายอาญา
คำอธิบาย

    ...

คำพิพากษาศาลฎีกา

    ...

แสดงความคิดเห็น

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]
    วันที่เพิ่ม : วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 05:45:35
    ปรับปรุงล่าสุด : วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:43:25


    คำชี้ขาดความเห็นแย้งที่ 949/2562 (อัยการนิเทศ เล่มที่ 85 พ.ศ. 2563 หน้า 28-29)

    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 377,380 ปล่อยปละละเลยสัตว์, ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ

    สุนัขกัดผู้เสียหายที่มาสอนหนังสือบุตรของผู้ต้องหาภายในรั้วบ้านของผู้ต้องหา ถือไม่ได้ว่าเป็นการปล่อยสุนัขเที่ยวไปโดยลำพังในประการที่น่าจะเป็นอันตรายต่อบุคคลหรือทรัพย์

    สุนัขพันธุ์ดุกัดผู้เสียหายที่มาสอนหนังสือบุตรของผู้ต้องหาภายในรั้วบ้านของผู้ต้องหาโดยที่ผู้ต้องหาได้เลี้ยงและปล่อยสุนัขไว้ภายในบริเวณบ้าน ถือไม่ได้ว่าเป็นการปล่อยสุนัขให้เที่ยวไปโดยลำพัง แต่ถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง
    เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจข้อเท็จจริงตามสำนวนการสอบสวนได้ความว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุ ผู้เสียหายเป็นครูได้เข้าไปสอนหนังสือพิเศษที่บ้านของผู้ต้องหาตามปกติ หลังจากสอนเสร็จ ขณะที่ผู้เสียหายกำลังจะเดินออกจากบ้านที่เกิดเหตุ สุนัขพันธุ์บางแก้วที่ผู้ต้องหาเลี้ยงไว้ภายในบ้านได้วิ่งเข้ามากัดผู้เสียหายที่บริเวณตันขาด้านหลัง จำนวน 1 ครั้ง หลังจากนั้นคนในบ้านได้เข้ามาช่วยดึงสุนัขออกไป แต่สุนัขได้หลุดมือและวิ่งเข้าไปกัดที่บริเวณตันขาด้านหลังข้างซ้ายอีก 1 ครั้ง เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายแก่กาย ต่อมาผู้เสียหายได้นัดเจรจาให้ผู้ต้องหาพาไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาที่โรงพยาบาล แต่ผู้ต้องหาไม่ยอมพาผู้เสียหายไปพบแพทย์และไม่ยอมรับผิดชอบ ผู้กล่าวหาจึงได้มาแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายคดีมีปัญหาให้อัยการสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ต้องหามีความผิดฐานเป็นผู้ควบคุมสัตว์สัตว์ร้ายปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้นเที่ยวไปโดยลำพังในประการที่น่าจะเป็นอันตรายต่อบุคคลหรือทรัพย์
    อัยการสูงสุดได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ความผิดฐานเป็นผู้ควบคุมสัตว์ดุสัตว์ร้ายปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้นเที่ยวไปโดยลำพังในประการที่น่าจะเป็นอันตรายต่อบุคคลหรือทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 377 นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้เจ้าของผู้ควบคุมดูแลสัตว์ดุหรือสัตว์ร้ายใช้ความระมัดระวังรอบคอบไม่ปล่อยปละละเลยให้สัตว์ดังกล่าวนั้นออกสู่สังคมภายนอกในลักษณะที่ปล่อยให้ไปเที่ยวซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อบุคคลโดยทั่วไป ทั้งเมื่อคำว่า "เที่ยว" ตามบทมาตราดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นนิยามไว้ จึงต้องถือความหมายตามพจนานุกรม ซึ่งหมายความว่า ไปไหนๆ เพื่อความเพลิดเพลินตามสบายโดยลำพัง ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุผู้ต้องหาได้เลี้ยงและปล่อยสุนัขพันธุ์บางแก้วไว้ภายในบริเวณบ้านที่มีรั้วรอบขอบชิด มิได้ปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้นเที่ยวไปโดยลำพัง การที่สุนัขดังกล่าวไปกัดผู้เสียหายที่มาสอนบุตรของผู้ต้องหาภายในรั้วบ้านของผู้ต้องหา จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการปล่อยสุนัขให้เที่ยวไปไหนๆ เพื่อความเพลิดเพลินตามสบาย อันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานนี้ แต่ถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังโดยไม่ได้ล่ามโซ่หรือขังสุนัขพันธุ์บางแก้วซึ่งเป็นสัตว์ดุร้ายไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ไปกัดผู้เสียหายหรือผู้อื่นที่อยู่ภายในบริเวณบ้านของตน ซึ่งพนักงานอัยการได้มีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหาฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจแล้ว ดังนี้ การกระทำของผู้ต้องหาดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้ควบคุมสัตว์ดุสัตว์ร้าย ปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้นเที่ยวไปโดยสำพัง โดยประการที่น่าจะเป็นอันตรายต่อบุคคลหรือทรัพย์



    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

บันทึกส่วนตัว

Visitor Statistics
» 2 Online
» 4 Today
» 124 Yesterday
» 889 Week
» 4496 Month
» 201428 Year
» 1452833 Total
Record: 10208 (10.06.2023)
Free PHP counter

ทบทวน สรุปย่อ สอบทนายความ ภาคทฤษฎี"
Sheet-สรุป-แบบฝึกหัด-สอบทนายความ

ทบทวน สรุปย่อ สอบทนายความ ภาคปฏิบัติ"