มาตรา 67 | ประมวลกฎหมายอาญา |

 

ประมวลกฎหมาย
อาญา
ภาค ๑ บทบัญญัติทั่วไป

ภาค ๑ บทบัญญัติทั่วไป

ลักษณะ ๑ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป

หมวด ๔ ความรับผิดในทางอาญา

หน้าก่อน

 

     มาตรา ๖๗  ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น

    (๑) เพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ

    (๒) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน

    ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

หนังสือประมวลกฎหมายอาญา

 

คำอธิบาย

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]

    วันที่บันทึก : วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 03:25:32
    วันที่ปรับปรุง : วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 03:25:32


    กระทำความผิดด้วยความจำเป็น เพราะเพื่อให้พ้นจากภยันตราย

    ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 (2) การกระทำความผิดด้วยความจำเป็นอีกลักษณะหนึ่งซึ่งมีข้อความว่า

    “ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็นเพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตรายนั้นตนไม่ได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ”

    การกระทำความผิดด้วยความจำเป็นตามมาตรา 67 ( 2) นั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นความจำเป็นสำหรับใจ (พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ กฎหมายอาญาพิสดาร หน้า 150) หรือความจำเป็นทางใจ เพราะบุคคลผู้นั้นมีอิสระทางกายทุกประการไม่ตกอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจใดๆ จะเคลื่อนไหวร่างกายอย่างใดก็ได้ แต่ความจำเป็นได้เกิดขึ้นที่ใจของเขาเพราะมีภยันตรายเกิดขึ้นและใกล้จะถึงตัวเขาหรือบุคคลอื่นแล้ว เขาไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ จึงตัดสินกระทำความผิดลงไปด้วยความจำเป็น ถ้าภยันตรายนั้นเขามิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของเขาเอง และเป็นการกระทำไม่เกินสมควรแก่เหตุแล้ว กฎหมายยกเว้นโทษให้

    (1) ต้องกระทำเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตราย
    (2) เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง
    (3) ไม่สามารถหลีกเลี่ยงภยันตรายให้พ้นโดยวิธีอื่นได้
    (4) ภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
    (5) ได้กระทำไปไม่เกินสมควรแก่เหตุ



    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

คำพิพากษาศาลฎีกา

    ...

แสดงความคิดเห็น

    ...

บันทึกส่วนตัว

Visitor Statistics
» 2 Online
» 9 Today
» 124 Yesterday
» 894 Week
» 4501 Month
» 201433 Year
» 1452838 Total
Record: 10208 (10.06.2023)
Free PHP counter