ลักษณะ ๑ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป
มาตรา ๑ ในประมวลกฎหมายนี้
มาตรา ๑ (๑๗) เพิ่มเติมโดย มาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ.๒๕๕๘ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ก หน้า ๘๔ วันที่ ๒๕๕๘)
สำหรับนิยามความหมายของ “สื่อลามกอนาจาร” เคยมีคำพิพากษาของศาลฎีกาหลายคดีที่วางแนวทางไว้ในทางเดียวกัน คำว่า “ลามก” คือ ภาพที่เห็น “หัวนม” ของผู้หญิง และภาพที่เห็น“อวัยวะเพศหญิง-ชาย” แล้ว “อุจาดตา” ทำขึ้นเพื่อยั่วยุทางกามารมณ์ ขณะที่เคยมีคดีอาญาถูกนำขึ้นศาลด้วย แล้วศาลพิพากษายกฟ้อง เพราะเห็นว่าไม่ใช่ “สื่อลามก” แม้จะเป็นภาพที่เห็นอวัยวะเพศก็ตาม เพราะ ภาพนั้นมี “คุณค่าทางศิลปะ” ตัวอย่างเช่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6301/2533
ภาพพิมพ์ของกลางเป็นภาพหญิงสาวซึ่งมีบางภาพเปิดเผยเต้านมอย่างโจ่งแจ้ง ส่วนที่อวัยวะเพศแม้จะมีผ้าอาภรณ์ปกปิดไว้ แต่ก็ปกปิดไว้อย่างหมิ่นเหม่ ซึ่งนอกจากจะอยู่ในอิริยาบทที่ไม่เรียบร้อยไม่น่าดูแล้ว ยังอยู่ในอิริยาบทที่น่าเกลียดน่าบัดสีอีกด้วยกล่าวคือมีบางภาพอยู่ในอิริยาบทนอนก็นอนหงายถ่างขาออกอย่างกว้างทำนองเจตนาเพื่ออวดอวัยวะเพศอย่างเด่นชัด ส่วนภาพที่อยู่ในอิริยาบทนั่งก็นั่งถ่างขาออกแม้จะมีผ้าปกปิดอวัยวะเพศก็เป็นผ้าบางใส ซึ่งแสดงว่าต้องการอวดอวัยวะเพศเช่นเดียวกับภาพในอิริยาบทนอนดังกล่าว จึงเป็นภาพที่มีเจตนายั่วยุให้บังเกิดความใคร่ทางกามารมณ์โดยตรง ถือเป็นภาพลามกตามความหมายที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287(1)
คำพิพากษาฎีกาที่ 978/2492
รูปหญิงเปลือยกายเห็นเด่นชัดเฉพาะถัน ส่วนโยนีถูกระบายให้ลบเลือนเห็นเพียงฐาน เป็นรูปแสดงสุขภาพอนามัยของการอาบแดดสอนวิธีเขียนส่วนสัดความงามของร่างกาย ไม่น่าเกลียด อุดจาดบัดสีที่น้อมนำไปสู่ความใคร่ทางกามารมณ์ จึงไม่ใช่ภาพลามกอนาจาร
ที่มา : iLaw