ลักษณะ ๑ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป
ภาค ๑ บทบัญญัติทั่วไป |
ลักษณะ ๑ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป |
---|---|
มาตรา ๒๔ |
หมวด ๓ โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย ส่วนที่ ๑ โทษ |
มาตรา ๒๔ *ผู้ใดต้องโทษกักขัง ให้กักตัวไว้ในสถานที่กักขังซึ่งกำหนดไว้อันมิใช่เรือนจำ สถานีตำรวจ หรือสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน
ถ้าศาลเห็นเป็นการสมควร จะสั่งในคำพิพากษาให้กักขังผู้กระทำความผิดไว้ในที่อาศัยของผู้นั้นเองหรือของผู้อื่นที่ยินยอมรับผู้นั้นไว้ หรือสถานที่อื่นที่อาจกักขังได้ เพื่อให้เหมาะสมกับประเภทหรือสภาพของผู้ถูกกักขังก็ได้
* ถ้าความปรากฏแก่ศาลว่า การกักขังผู้ต้องโทษกักขังไว้ในสถานที่กักขังตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้นั้น หรือทำให้ผู้ซึ่งต้องพึ่งพาผู้ต้องโทษกักขังในการดำรงชีพได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร หรือมีพฤติการณ์พิเศษประการอื่นที่แสดงให้เห็นว่าไม่สมควรกักขังผู้ต้องโทษกักขังในสถานที่ดังกล่าว ศาลจะมีคำสั่งให้กักขังผู้ต้องโทษกักขังในสถานที่อื่นซึ่งมิใช่ที่อยู่อาศัยของผู้นั้นเอง โดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ก็ได้ กรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผู้ต้องโทษกักขังปฏิบัติ และหากเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ดังกล่าวยินยอม ศาลอาจมีคำสั่งแต่งตั้งผู้นั้นเป็นผู้ควบคุมดูแลและให้ถือว่าผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายนี้
* มาตรา ๒๔ วรรคแรก แก้ไขโดย มาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ.๒๕๔๕ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๔ ก หน้า ๑ วันที่ ๘ มกราคม ๒๕๔๖) ความในมาตรานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามปีนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
* มาตรา ๒๔ วรรคสาม เพิ่มเติมโดย มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ.๒๕๔๕ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๔ ก หน้า ๒ วันที่ ๘ มกราคม ๒๕๔๖)