ภาค-ซ้าย
ภาค-ขวา
เมนูซ้าย กฎหมายอาญา ภาค 1
เมนูซ้าย กฎหมายอาญา ภาค 2
เมนูซ้าย กฎหมายอาญา ภาค 3
เมนูขวา กฎหมายอาญา ภาค 1
เมนูขวา กฎหมายอาญา ภาค 2
เมนูขวา กฎหมายอาญา ภาค 3

 

 

มาตรา 8 | ประมวลกฎหมายอาญา |

ภาค ๑ บทบัญญัติทั่วไป

ลักษณะ ๑ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป

มาตรา ๘

หมวด ๒ การใช้กฎหมายอาญา

ลักษณะ ๑ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป

หมวด ๒ การใช้กฎหมายอาญา

advance mode
หน้าต่อไป
หน้าก่อน
หน้าก่อน

 

    มาตรา ๘  ผู้ใดกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร และ

    (ก) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ

    (ข) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ

    ถ้าความผิดนั้นเป็นความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร คือ

    (๑) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๑๗ มาตรา ๒๑๘ มาตรา ๒๒๑ ถึงมาตรา ๒๒๓ ทั้งนี้เว้นแต่กรณีเกี่ยวกับมาตรา ๒๒๐ วรรคแรกและมาตรา ๒๒๔ มาตรา ๒๒๖ มาตรา ๒๒๘ ถึงมาตรา ๒๓๒ มาตรา ๒๓๗ และมาตรา ๒๓๓ ถึงมาตรา ๒๓๖ ทั้งนี้เฉพาะเมื่อเป็นกรณีต้องระวางโทษตามมาตรา ๒๓๘

    (๒) ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖๔ มาตรา ๒๖๕ มาตรา ๒๖๖ (๑) และ (๒) มาตรา ๒๖๘ ทั้งนี้เว้นแต่กรณีเกี่ยวกับมาตรา ๒๖๗ และมาตรา ๒๖๙

       (๒/๑) ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖๙/๑ ถึงมาตรา ๒๖๙/๗

       (๒/๒) ความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทางตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖๙/๘ ถึงมาตรา ๒๖๙/๑๕

    (๓) ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๗๖ มาตรา ๒๘๐ และมาตรา ๒๘๕ ทั้งนี้เฉพาะที่เกี่ยวกับมาตรา ๒๗๖

    (๔) ความผิดต่อชีวิต ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘๘ ถึงมาตรา ๒๙๐

    (๕) ความผิดต่อร่างกาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๙๕ ถึงมาตรา ๒๙๘

    (๖) ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บหรือคนชรา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๐๖ ถึงมาตรา ๓๐๘

    (๗) ความผิดต่อเสรีภาพ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๐๙ มาตรา ๓๑๐ มาตรา ๓๑๒ ถึงมาตรา ๓๑๕ และมาตรา ๓๑๗ ถึงมาตรา ๓๒๐

    (๘) ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ถึงมาตรา ๓๓๖

    (๙) ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๗ ถึงมาตรา ๓๔๐

    (๑๐) ความผิดฐานฉ้อโกง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๔๑ ถึงมาตรา ๓๔๔ มาตรา ๓๔๖ และมาตรา ๓๔๗

    (๑๑) ความผิดฐานยักยอก ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๕๒ ถึงมาตรา ๓๕๔

    (๑๒) ความผิดฐานรับของโจร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๕๗

    (๑๓) ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๕๘ ถึงมาตรา ๓๖๐

คำอธิบาย


คำพิพากษาศาลฎีกา


แสดงความคิดเห็น


บันทึกส่วนตัว


* มาตรา ๘ (๒/๑) เพิ่มเติมโดย มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ.๒๕๔๗ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๖๕ ก หน้า ๒๒ วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๔๗)

* มาตรา ๘ (๒/๒) เพิ่มเติมโดย มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ.๒๕๕๐ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๔๒ ก หน้า ๒ วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๐)

 

ประมวลกฎหมายอาญา QR CODE คลัง ข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

  WWW.KEYBOOKME.COM

ประมวลกฎหมายอาญา  

Visitor Statistics
» 1 Online
» 6 Today
» 124 Yesterday
» 891 Week
» 4498 Month
» 201430 Year
» 1452835 Total
Record: 10208 (10.06.2023)
Free PHP counter