นาวิน ขำแป้น
[ทนายความ]
วันที่เพิ่ม : วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 05:59:56
ปรับปรุงล่าสุด : วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 00:52:42
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 มาตรา ๓๓
ในการริบทรัพย์สิน นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินดังต่อไปนี้อีกด้วย คือ
(๑) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือ
(๒) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิด
เว้นแต่ทรัพย์สินเหล่านี้เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 มาตรา ๗๒
ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 มาตรา ๗๘
เมื่อปรากฏว่ามีเหตุบรรเทาโทษ ไม่ว่าจะได้มีการเพิ่มหรือการลดโทษตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นแล้วหรือไม่ ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นก็ได้
เหตุบรรเทาโทษนั้น ได้แก่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญาตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีคุณความดีมาแต่ก่อน รู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น ลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานหรือให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา หรือเหตุอื่นที่ศาลเห็นว่ามีลักษณะทำนองเดียวกันประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาตรา ๙๑
เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนด ดังต่อไปนี้
(๑) สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี
(๒) ยี่สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี
(๓) ห้าสิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิตประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 199 มาตรา ๑๙๙
ผู้ใดลอบฝัง ซ่อนเร้น ย้ายหรือทำลายศพหรือส่วนของศพเพื่อปิดบังการเกิด การตายหรือเหตุแห่งการตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 มาตรา ๒๘๘
ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 มาตรา ๓๑๐
ผู้ใดหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก เป็นเหตุให้ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวถูกกักขังหรือต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกายนั้นถึงแก่ความตาย หรือรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๙๐ มาตรา ๒๙๗ หรือมาตรา ๒๙๘ นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 5332 / 2560
จำเลยใช้ถุงพลาสติกซึ่งไม่มีช่องอากาศครอบศีรษะผู้ตาย แล้วใช้เทปกาวพันรอบถุงบริเวณลำคอผู้ตาย แม้จำเลยมิได้ประสงค์จะให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย แต่จำเลยก็ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าการกระทำดังกล่าวจะทำให้ผู้ตายขาดอากาศหายใจ และถึงแก่ความตายได้ จึงถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายแล้ว เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
ส่วนที่จำเลยอ้างว่าไม่มีเจตนาฆ่า เพราะถ้าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายจริงจำเลยก็คงเอามีดแทงหรือบีบคอผู้ตายให้ถึงแก่ความตายไปแล้ว คงไม่ต้องลำบากหาถุงพลาสติกมาครอบศีรษะจำเลยนั้น เห็นได้ว่าแม้จำเลยจะไม่ประสงค์ต่อผลที่จะให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย คงเพียงแต่จะทรมานผู้ตายเท่านั้น แต่จำเลยย่อมเห็นผลได้ว่าการกระทำดังกล่าวจะทำให้ผู้ตายขาดอากาศหายใจและถึงแก่ความตายได้ จึงถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายแล้ว
จำเลยใช้ถุงพลาสติกซึ่งไม่มีช่องอากาศครอบศีรษะผู้ตาย แล้วใช้เทปกาวพันรอบถุงบริเวณรอบลำคอผู้ตาย แม้จำเลยมิได้ประสงค์จะให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย แต่จำเลยก็ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าการกระทำดังกล่าวจะทำให้ผู้ตายขาดอากาศหายใจและถึงแก่ความตายได้ จึงถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายแล้ว เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
ชั้นพิจารณาจำเลยให้การรับสารภาพว่าทำร้ายผู้ดายจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย เพียงแต่ปฏิเสธว่ามิได้มีเจตนาฆ่าเท่านั้น ที่จำเลยฎีกาว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะสาเหตุอื่นอันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นนอกจากที่จำเลยให้การรับสารภาพ และเป็นการฎีกาข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 การที่จำเลยจะอ้างว่ากระทำความผิดโดยบันดาลโทสะได้นั้น จะต้องปรากฎข้อเท็จจริงว่าจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมก่อน และต้องเป็นการกระทำความผิดในขณะที่ถูกผู้ตายข่มหงด้วย ก่อนเกิดเหตุ จำเลยกับผู้ตายมีปากเสียงทะเลาะกันในขณะที่จำเลยขับรถยนต์มากับผู้ตาย แม้จำเลยอ้างว่าผู้ตายทุบตีและถีบจำเลยจนทำให้รถยนต์เสียหลักไปชนกับขอบทางด่วน แต่สาเหตุที่ผู้ตายกระทำต่อจำเลยเกิดจากจำเลยหลอกลวงให้ผู้ตายไปพบเพื่อดูรถยนต์ที่จะนำมาตีใช้หนี้ให้แก่ผู้ตายซึ่งจำเลยมีส่วนผิดอยู่ด้วย เมื่อจำเลยใช้เข็มขัดพลาสติกรัดสายไฟ มัดมือมัดเท้า ใช้เทปปิดปากผู้ตาย และถอดเสื้อผ้าของผู้ตายออกทิ้งไปแล้ว ผู้ตายย่อมไม่อาจกระทำการอันเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงต่อไปได้ การที่จำเลยยังคงใช้ถุงพลาสติกคลุมศีรษะผู้ตายและใช้เทปมัดถุงพลาสติกรอบคอผู้ตายจนแน่นโดยอ้างว่ายังคงได้ยินเสียงผู้ตายด่าทอและข่มขู่จะทำร้ายภริยาและบุตรของจำเลย จนทำให้ผู้ตายขาดอากาศหายใจและถึงแก่ความตายในเวลาต่อมานั้น ย่อมไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดในขณะที่ถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 91, 199, 288, 310 ริบฝากระป๋องกาว 1 อัน และเข็มขัดพลาสติกรัดสายไฟ 3 ชิ้น ของกลาง
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่ก่อนสืบพยานโจทก์ จำเลยขอถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขัง และข้อหาซ่อนเร้นทำลายศพ ปิดบังการตาย ส่วนข้อหาฆ่าผู้อื่นให้การปฏิเสธว่า จำเลยไม่ได้มีเจตนาฆ่า แต่เจตนาทำร้ายผู้ตายจนเป็นเหตุทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย และกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ
ระหว่างพิจารณา นายวัชรเวชและนางมาลัย บิดาและมารดาของผู้ตายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องทั้งสองเข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังให้ผู้อื่นต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกายและข้อหาฆ่าผู้อื่น
โจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำร้องและแก้ไขคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้สินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพ 200,000 บาท ค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ร่วมทั้งสอง เดือนละ 25,000 บาท เป็นเวลา 5 ปี เป็นเงิน 1,500,000 บาท ค่าขาดประโยชน์จากการทำงานที่ผู้ตายเคยช่วยเหลือโจทก์ร่วมทั้งสองค้าขาย เดือนละ 9,000 บาท เป็นเวลา 5 ปี เป็นเงิน 450,000 บาท ค่าเสียหายในทรัพย์สินของผู้ตายเป็นเงิน 60,000 บาท ค่าเสียหายทางด้านจิตใจของโจทก์ร่วมทั้งสองเป็นเงิน 1,000,000 บาท รวมเป็นเงิน 3,300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของเงินตันดังกล่าว นับแต่วันที่จำเลยทำละเมิดไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ร่วมทั้งสอง
จำเลยให้การในคดีส่วนแพ่งว่า โจทก์ร่วมทั้งสองไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิเรียกค่าปลงศพและค่าเสียหายไม่เกิน 50,000 บาท ค่าขาดไร้อุปการะของโจทก็ร่วมทั้งสองไม่เกิน 150,000 บาท ส่วนค่าขาดประโยชน์ในการทำงานโจทก์ร่วมทั้งสองไม่มีรายละเอียด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด ค่าสินไหมทดแทนเป็นเพียงการคาดคะเน จำเลยคงต้องรับผิดเฉพาะเสื้อผ้า โทรศัพท์และกระเป๋าเป็นเงินไม่เกิน 20,000 บาท และค่าเสียหายทางด้านจิตใจเป็นเงินไม่เกิน 50,000 บาท
ศาลชั้นตันพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 310 วรรคแรก, 199 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานฆ่าผู้อื่น จำคุกตลอดชีวิต ฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังจำคุก 2 ปี ฐานซ่อนเร้น ทำลายศพเพื่อปิดบังการตาย จำคุก 1 ปี ทางนำสืบของจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 จำเลยให้การรับสารภาพฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง และฐานซ่อนเร้น ทำลายศพเพื่อปิดบังการตาย เป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ฐานฆ่าผู้อื่น จำคุก 33 ปี 4 เดือน ฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง จำคุก 1 ปี ฐานซ่อนเร้น ทำลายศพเพื่อปิดบังการตาย จำคุก 6 เดือน รวมจำคุก 34 ปี 10 เดือน กับให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมที่ 1 เป็นเงิน 850,000 บาท และโจทก์ร่วมที่ 2 เป็นเงิน 750,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 (ที่ถูกอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี) ของเงินตันดังกล่าวนับจากวันที่ 18 สิงหาดม 2556 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ร่วมทั้งสอง ริบฝากระป๋องกาว 1 อัน และเข็มขัดพลาสติกรัดสายไฟของกลาง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งทั้งสองศาลให้เป็นพับ
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันในชั้นฎีการับฟังเป็นยุติได้ในเบื้องตันว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุในฟ้อง จำเลยขับรถยนต์ไปรับนางสาวกันต์กนิษฐ์ ผู้ตาย จากบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขารามอินทรา ไปขึ้นทางด่วน ระหว่างทางจำเลยใช้เข็มขัดพลาสติกรัดสายไฟมัดมือและเท้าผู้ตาย ใช้กระดาษเทปกาวปิดปาก และใช้ถุงพลาสติกสีดำสำหรับใส่ขยะคลุมศีรษะมัดม้วนไว้บริเวณใต้คางแล้วใช้เทปกาวปิดมัดทับ ต่อมาผู้ตายได้ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงนำศพผู้ตายทิ้งข้างทางในบริเวณที่เกิดเหตุ นำกระป๋องกาวเทใส่ศพผู้ตายแล้วจุดไฟเผาเพื่อทำลายศพ สำหรับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังและซ่อนเร้นทำลายศพเพื่อปิดบังการตายเป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นตันโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า จำเลยมีเจตนาเพียงทำร้ายโดยมิได้มีเจตนาฆ่าผู้ตายนั้น เห็นว่า แม้ชั้นอุทธรณ์จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์โด้แย้งว่าจำเลยมิได้มีเจตนาฆ่าผู้ตาย แต่ศาลอุทธรณ์กาค 1 ยังมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายหรือไม่เป็นการไม่ชอบก็ตาม แต่เมื่อคดีนี้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว และจำเลยฎีกาในประเด็นปัญหาดังกล่าวมาด้วย เพื่อมิให้คดีต้องเนิ่นช้าต่อไปศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยใหม่ โดยศาลฎีกาเห็นพ้องกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นซึ่งได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงไว้โดยละเอียดและชอบด้วยเหตุผลแล้วว่า ตามรายงานการตรวจศพระบุว่า สาเหตุที่ตายก็เนื่องจากภาวะหายใจไหลเวียนโลหิตล้มเหลวสันนิษฐานจากขาดอากาศ ดังนั้น การที่จำเลยใช้ถุงพลาสติกซึ่งไม่มีช่องอากาศครอบศีรษะผู้ตาย แล้วใช้เทปกาวพันรอบถุงบริเวณรอบลำคอผู้ตายเช่นนั้น แม้จำเลยมิได้ประสงค์จะให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย แต่จำเลยก็ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าการกระทำดังกล่าวจะทำให้ผู้ตายขาดอากาศหายใจและถึงแก่ความตายได้ จึงถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายแล้ว เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายจำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าผู้ตายอาจถึงแก่ความตายจากสาเหตุอื่น เช่น โรคประจำตัว หรือการกระทำของผู้ตายเองนั้น เห็นว่า ชั้นพิจารณาจำเลยให้การรับสารภาพว่าทำร้ายผู้ตายจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย เพียงแต่ปฏิเสธว่ามิได้มีเจตนาฆ่าเท่านั้น ดังนั้น ที่จำเลยฎีกาว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะสาเหตุอื่นอันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นนอกจากที่จำเลยให้การรับสารภาพ และเป็นการฎีกาข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในตาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยต่อไปว่า จำเลยอ้างว่ากระทำผิดโดยบันดาลโทสะได้หรือไม่ โดยจำเลยฎีกาอ้างว่า ผู้ตายทำร้ายจำเลย ด่าทอผู้บุพการีจำเลย และข่มขู่ว่าจะทำอันตรายบุตรและภริยาจำเลยนั้น เห็นว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 บัญญัติว่า "ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมจึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้" ดังนั้น การที่จำเลยจะอ้างว่ากระทำความผิดโดยบันดาลโทละได้นั้นจะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมก่อน และต้องเป็นการกระทำความผิดในขณะที่ถูกผู้ตายข่มเหงด้วย เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาและตามที่จำเลยกล่าวอ้างในฎีกาฟังได้ว่า ก่อนเกิดเหตุ จำเลยกับผู้ตายมีปากเสียงทะเลาะกันในขณะที่จำเลยขับรถยนต์มากับผู้ตาย แม้จำเลยอ้างว่าผู้ตายทุบตีและถีบจำเลยจนทำให้รถยนต์เสียหลักไปชนกับขอบทางด่วน แต่สาเหตุที่ผู้ตายกระทำต่อจำเลยเกิดจากจำเลยหลอกลวงให้ผู้ตายไปพบเพื่อดูรถยนต์ที่จะนำมาดีใช้หนี้ให้แก่ผู้ตายซึ่งจำเลยมีส่วนผิดอยู่ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อจำเลยใช้เข็มขัดพลาสติกรัดสายไฟมัดมือมัดเท้า ใช้เทปปิดปากผู้ตาย และถอดเสื้อผ้าของผู้ตายออกทิ้งไปแล้ว ผู้ตายย่อมไม่อาจกระทำการอันเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงต่อไปได้ การที่จำเลยยังคงใช้ถุงพลาสติกคลุมศีรษะผู้ตายและใช้เทปมัดถุงพลาสติกรอบคอผู้ตายจนแน่นโดยอ้างว่ายังคงได้ยินเสียงผู้ตายด่าทอและข่มขู่จะทำร้ายภริยาและบุตรของจำเลย จนทำให้ผู้ตายขาดอากาศหายใจและถึงแก่ความตายในเวลาต่อมานั้น ย่อมไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดในขณะที่ถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะตามกฎหมาย ส่วนฎีกาของจำเลยประการอื่น ๆ ล้วนเป็นเพียงรายละเอียดที่ไม่ทำให้คำวินิจฉัยข้างต้นเปลี่ยนแปลง จึงไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์กาค 1 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
(สมชาติ ธัญญาวินิชกุล - จักษ์ชัย เยพิทักษ์ - รังสรรค์ กุลาเลิศ)
กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!