มาตรา 343 | ประมวลกฎหมายอาญา |

 

ประมวลกฎหมาย
อาญา
ภาค ๒ ความผิด

ภาค ๒ ความผิด

ลักษณะ ๑๒ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

หมวด ๓ ความผิดฐานฉ้อโกง

หน้าก่อน

 

     มาตรา ๓๔๓  ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๓๔๑ ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวในมาตรา ๓๔๒ อนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท

* มาตรา ๓๔๓  แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ.๒๕๖๐ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๓๒ ก หน้า ๖๒ วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐)

หนังสือประมวลกฎหมายอาญา

 

คำอธิบาย

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]

    วันที่บันทึก : วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 00:25:19
    วันที่ปรับปรุง : วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 00:25:19


    องค์ประกอบภายนอก
    1. กระทำความผิดฐานฉ้อโกง
    2. กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน
    องค์ประกอบภายใน
    เจตนา



    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]

    วันที่บันทึก : วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 00:44:54
    วันที่ปรับปรุง : วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 00:44:54


    องค์ประกอบภายนอก
    กระทำความผิดฐานฉ้อโกงมาตรา 343 นี้เป็นเหตุที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้นอีกเหตุหนึ่งเช่นเดียวกับมาตรา 342 ดังนี้จึงต้องมีองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ครบถ้วนเสียก่อนและมีเหตุในมาตรานี้เพิ่มขึ้นมาจึงจะต้องรับโทษหนักขึ้น
    กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนหรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนเหตุที่ทำให้รับโทษหนักขึ้นคือฉ้อโกงได้กระทำต่อประชาชน หมายความถึงบุคคลทั่วไปไม่จำกัดว่าเป็นผู้ใดและไม่ถือจำนวนมากหรือน้อยเป็นสำคัญ (ฎ.1573/2534) ข้อสำคัญลักษณะของการหลอกลวงต้องเปิดกว้างต่อประชาชนทั่วไปหรือประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่เจาะจงตัวบุคคลเช่นชักชวนหลอกลวงประชาชนในหมู่บ้าน (ฎ.811/2534) เป็นต้น และจะกระทำด้วยวิธีการใดก็ได้ เช่นประกาศโฆษณาบริเวณหน้าที่ทำการของจำเลย (ฎ.1846/2533) ลงข่าวประกาศทางหนังสือพิมพ์ (ฎ.135/2547) เป็นต้นเมื่อได้มีการแสดงความเท็จต่อประชาชนเป็นการทั่วไปแล้ว จะมีคนที่ทราบข้อเท็จจริงกี่คนไม่สำคัญหากมีผู้ใดผู้หนึ่งแม้คนเดียวหลงเชื่อจนผู้กระทำได้ทรัพย์สินไป เป็นการฉ้อโกงประชาชนแล้ว
    องค์ประกอบภายใน
    เจตนา การกระทำความผิดตามมาตรานี้ ต้องมีเจตนาตามมาตรา 59 และเจตนาโดยทุจริต อันเป็นองค์ประกอบภายในของความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341



    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

คำพิพากษาศาลฎีกา

แสดงความคิดเห็น

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]
    วันที่เพิ่ม : วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 21:30:48
    ปรับปรุงล่าสุด : วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 21:30:48


    "ฉ้อโกงประชาชน เป็นคดีอันยอมความไม่ได้"
    การเริ่มต้นคดี ผู้เสียหายอาจไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนหรือจะแต่งตั้งทนายความเพื่อนำคดีไปฟ้องเองต่อศาลก็ได้

    อาญา-มาตรา-343




    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

บันทึกส่วนตัว

Visitor Statistics
» 4 Online
» 11 Today
» 124 Yesterday
» 896 Week
» 4503 Month
» 201435 Year
» 1452840 Total
Record: 10208 (10.06.2023)
Free PHP counter