มาตรา 328 | ประมวลกฎหมายอาญา |

 

ประมวลกฎหมาย
อาญา
ภาค ๒ ความผิด

ภาค ๒ ความผิด

ลักษณะ ๑๑ ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง

หมวด ๓ ความผิดฐานหมิ่นประมาท

หน้าก่อน

 

     มาตรา ๓๒๘  ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท

* มาตรา ๓๒๘  แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ.๒๕๓๕ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๓ หน้า ๒ วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕)

หนังสือประมวลกฎหมายอาญา

 

คำอธิบาย

    ...

คำพิพากษาศาลฎีกา

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]
    วันที่เพิ่ม : วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 02:31:13
    ปรับปรุงล่าสุด : วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 02:31:13


    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326    มาตรา ๓๒๖
        ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328    มาตรา ๓๒๘
        ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท

    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329    มาตรา ๓๒๙
        ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
        (๑) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
        (๒) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
        (๓) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
        (๔) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
        ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท


    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 11118 / 2558
    ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 รับจ้างทำงานให้แก่สำนักงาน น. ซึ่งเป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวง ว. นั้น โจทก์ร่วมดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงาน น. และในช่วงระยะเวลาเดียวกันนั้น จำเลยที่ 1 รับจ้างทำงานให้แก่ศูนย์ พ. ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศที่ให้ทุนสนับสนุนทางวิชาการด้านเกษตรอินทรีย์แก่สำนักงาน น. เพื่อดำเนินงานโครงการนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพในหัวข้อ “การเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกของภาคเกษตรอินทรีย์ไทย” (Strengthening the Export Capacity of Thailand’s Organic Agriculture) โดยทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ร่วมอยู่ในทีมงานซึ่งดำเนินงานตามโครงการนี้ดังนั้นไม่ว่าการดำเนินงานตามโครงการนี้จะอยู่ในขอบเขตการทำงานตามที่สำนักงาน น. ว่าจ้างจำเลยที่ 1 หรือไม่ก็ตาม เมื่อปรากฏชื่อโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 เป็นผู้ร่วมดำเนินโครงการนั้นย่อมถือได้ว่าทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 เป็นผู้ร่วมดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว ซึ่งต่อมาทีมดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวได้จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ขึ้นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอันมีใจความสำคัญและรายนามผู้เขียนร่วมกันตรงกันกับบทความที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ต่างคนต่างส่งไปพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการฉบับหนึ่ง คงมีความแตกต่างในลำดับของรายนามผู้เขียน ซึ่งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ต่างก็โต้แย้งว่าตนเองเป็นผู้เขียนหลักในบทความดังกล่าว ดังนั้นเมื่อทั้งรายงานฉบับสมบูรณ์ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษรวมทั้งบทความที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ต่างคนต่างส่งไปพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการดังกล่าวมีรายนามผู้เขียนร่วมกัน 7 คน เหมือนกัน และมีชื่อทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 เป็นผู้เขียนร่วมกันเหมือนกันโดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้เขียนคนใดเขียนในเนื้อหาส่วนใด จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าบุคคลทั้งเจ็ดคนดังกล่าวเป็นผู้เขียนบทความดังกล่าวร่วมกันทั้งหมด แม้ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับการดำเนินการตามโครงการนวัตกรรม ชื่อ “โครงการวิเคราะห์เชิงลึกการผลิตหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์ตามกรอบยุทธศาสตร์ด้านเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย” ที่บริษัท ส. ได้รับทุนอุดหนุนการดำเนินโครงการจากสำนักงาน น. แต่เมื่อปรากฏว่าหัวข้อโครงการที่บริษัท ส. ดำเนินการดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกันกับหัวข้อโครงการที่สำนักงาน น. ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์ พ. ที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ร่วมอยู่ในทีมดำเนินงาน และระยะเวลาการดำเนินโครงการของบริษัท ส. เป็นช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันกับระยะเวลาดำเนินโครงการของสำนักงาน น. ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์ พ. และใกล้เคียงกับช่วงระยะเวลาที่ทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ต่างคนต่างส่งไปพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ จึงมีเหตุผลให้จำเลยที่ 1 เชื่อว่าเนื้อหาการดำเนินโครงการของบริษัท ส. ดังกล่าวอาจมีความทับซ้อนกันกับเนื้อหาการดำเนินโครงการตามรายงานฉบับสมบูรณ์ที่มีชื่อโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งทีมงานจัดทำขึ้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ร่วมทำดุษฎีนิพนธ์ในการศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตในหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ที่มีความใกล้เคียงกันกับหัวข้อดำเนินงานวิจัยในโครงการที่สำนักงาน น. ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์ พ. ที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 อยู่ในทีมดำเนินงาน และคล้ายคลึงกันกับหัวข้อบทความที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ต่างคนต่างส่งไปพิมพ์เผยแพร่ที่วารสารทางวิชาการ ทั้งยังเป็นช่วงระยะเวลาเดียวกันทั้งหมด โดยเอกสารทางวิชาการที่กล่าวถึงทั้งหมดนั้นมีเนื้อหาอันเป็นใจความสำคัญเหมือนกันโดยบรรณานุกรมของดุษฎีนิพนธ์ที่โจทก์ร่วมทำขึ้นก็อ้างอิงถึงรายงานฉบับสมบูรณ์ที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งทีมงานได้จัดทำขึ้นด้วย ทั้งยังได้ความอีกด้วยว่า จำเลยที่ 1 สนใจศึกษาต่อระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตโดยจะเสนอหัวข้อดุษฎีนิพนธ์เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ซึ่งจำเลยที่ 1 เคยส่งบทความทางวิชาการพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการมาแล้วนั้น แต่อาจารย์ที่ปรึกษาของจำเลยที่ 1 แจ้งว่า ไม่สามารถกระทำการดังกล่าวได้ ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ทราบข้อเท็จจริงว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้ร่วมดำเนินงานโครงการวิจัยและมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้เขียนร่วมกันในบทความทางวิชาการที่มีการพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการก่อนที่โจทก์ร่วมจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตทำดุษฎีนิพนธ์ในหัวข้อที่ใกล้เคียงกัน ย่อมมีเหตุผลให้จำเลยที่ 1 เชื่อได้ว่าโจทก์ร่วมนำผลงานทางวิชาการที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ร่วมวินิจฉัยและร่วมเขียนบทความไปใช้ในการเขียนดุษฎีนิพนธ์ของโจทก์ร่วม ทั้งนี้ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ร่วมในผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องตามที่กล่าวอ้างถึงข้างต้นหรือไม่ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้เขียนร่วมในผลงานทางวิชาการที่กล่าวอ้างถึงดังกล่าว จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะผู้สร้างสรรค์ร่วม ทั้งในวงวิชาการนั้นพึงมีบรรทัดฐานด้านจรรยาบรรณของนักวิชาการในระดับสากลเช่นเดียวกัน กล่าวคือ การที่โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้วิจัยหรือผู้เขียนผลงานทางวิชาการนำผลงานทางวิชาการของผู้สร้างสรรค์ร่วมกันมาใช้ในผลงานทางวิชาการของตน ก็ควรอย่างยิ่งที่โจทก์ร่วมจะได้บอกกล่าวผู้สร้างสรรค์ร่วมกันทุกคนรวมทั้งจำเลยที่ 1 ว่าจะนำบทความที่เขียนร่วมกันนั้นไปใช้ในดุษฎีนิพนธ์ของโจทก์ร่วม และเมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม โดยในส่วนของจำเลยที่ 1 คือการกระทำในส่วนที่ให้สัมภาษณ์แก่จำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2 ลงพิมพ์เผยแพร่ข้อความคำให้สัมภาษณ์ของจำเลยที่ 1 ในหนังสือพิมพ์เป็นบทความภาษาอังกฤษ จึงต้องพิจารณาจากข้อความในบทความที่เป็นภาษาอังกฤษเป็นเบื้องต้น ซึ่งเมื่อพิจารณาจากข้อความภาษาอังกฤษในบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์แล้ว เห็นได้ว่าข้อความดังกล่าวไม่ได้กล่าวยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ข้อความดังกล่าวตามฟ้องทั้งหมด ทั้งใจความสำคัญของข้อความที่กล่าวอ้างไว้ในบทความภาษาอังกฤษล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับดุษฎีนิพนธ์ของโจทก์ร่วม รายงานการดำเนินงานวิจัยที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ร่วมอยู่ในทีมดำเนินงาน และบทความที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ต่างคนต่างส่งพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ รวมทั้งเกี่ยวข้องกับรายงานการดำเนินงานตามโครงการที่บริษัท ส. เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งงานสร้างสรรค์ในลักษณะงานนิพนธ์อันเป็นงานวรรณกรรมทั้งหกชิ้นดังกล่าวนี้มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันหรืออาจถึงขนาดที่กล่าวได้ว่าทับซ้อนกันในเนื้อหาอันเป็นสาระสำคัญได้ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นทั้งหมด ประกอบกับปรากฏตามสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงจากรายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงจากรายงานการสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำสั่ง จ. ว่า คณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงมีความเห็นว่า แม้จะไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่าเอกสารทางวิชาการที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 1 นั้นเป็นผลงานของจำเลยที่ 1 จริงหรือไม่ แต่ดุษฎีนิพนธ์ของโจทก์ร่วมมีการคัดลอกงานวิชาการจากเอกสารจำนวน 4 ฉบับ ซึ่งเป็นงานเขียนของกลุ่มบุคคลในปริมาณงานที่มาก แม้ว่าโจทก์ร่วมจะอ้างอิงเอกสารบางรายการไว้ในบรรณานุกรมของดุษฎีนิพนธ์ แต่การกระทำดังกล่าวอาจเข้าข่ายเป็นการลอกเลียนวรรณกรรมโดยมิชอบ (Plagiarism) ไม่ว่าจะเป็นการลอกวรรณกรรมของตนเองหรือเป็นการลอกวรรณกรรมของผู้อื่นหรือโดยผู้อื่นเป็นเจ้าของผลงานร่วมด้วย นอกจากนี้ สัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ในงานวิจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับดุษฎีนิพนธ์ของโจทก์ร่วม ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างชัดเจนโดยปราศจากข้อโต้แย้งของทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับข้อตกลงเรื่องความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการทำรายงานการดำเนินโครงการวิจัยและในบทความที่กลุ่มบุคคลซึ่งมีโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 รวมอยู่ด้วยเป็นผู้จัดทำขึ้น รวมทั้งบทความทางวิชาการที่เผยแพร่ต่อเนื่องจากการจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ ด้วยข้อเท็จจริงดังกล่าวมาทั้งหมดข้างต้นย่อมมีเหตุผลให้จำเลยที่ 1 เชื่อว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ร่วมกันกับบุคคลอื่นในคณะบุคคลหรือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ร่วมกันกับหน่วยงานผู้ให้สนับสนุนการวิจัยที่เกี่ยวข้อง และแม้ลิขสิทธิ์ในรายงานการดำเนินโครงการวิจัยและบทความที่กลุ่มบุคคลซึ่งมีโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 รวมอยู่ด้วยเป็นผู้จัดทำขึ้นจะมิใช่ของจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 1 ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วย แต่ในฐานที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เขียนร่วมในผลงานวิชาการในรูปแบบงานนิพนธ์อันเป็นงานวรรณกรรมซึ่งมีลิขสิทธิ์ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับการปกป้องคุ้มครองในฐานะผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์นั้นด้วย ดังนั้น จึงมีเหตุผลให้จำเลยที่ 1 เชื่อว่าจำเลยที่ 1 พึงได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิในฐานะผู้เขียนเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดดังกล่าวนั้นด้วยการร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความเป็นธรรม การแสดงข้อความตามฟ้องที่ปรากฏในบทความภาษาอังกฤษในหนังสือพิมพ์ตามฟ้องนั้น จึงถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยที่ 1 แสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เขียนร่วมในรายงานการดำเนินโครงการวิจัยและบทความที่จำเลยที่ 1 เชื่อว่าโจทก์ร่วมได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงข้อความอันเป็นสาระสำคัญดังกล่าวของผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดโดยมิได้บอกกล่าวหรือขออนุญาตผู้สร้างสรรค์ร่วมกันหรือผู้เขียนร่วม หรือผู้มีลิขสิทธิ์ในผลงานนั้นครบถ้วนทุกคน ตาม ป.อ. มาตรา 329 (1) การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวย่อมไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตาม ป.อ. มาตรา 328 ประกอบมาตรา 326 ดังที่โจทก์ฟ้อง


    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]
    วันที่เพิ่ม : วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 02:42:07
    ปรับปรุงล่าสุด : วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 02:42:07


    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328    มาตรา ๓๒๘
        ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท

    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329    มาตรา ๓๒๙
        ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
        (๑) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
        (๒) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
        (๓) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
        (๔) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
        ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท


    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 4324 / 2552
    โจทก์บรรยายฟ้องว่า “…จำเลยได้ใส่ความโจทก์ต่ออธิบดี…ด้วยเอกสารฉบับลงวันที่ 12 มิถุนายน 2545 มีข้อความว่า “…ข้อความดังกล่าวเป็นความเท็จความจริงโจทก์ไม่เคยแอบอ้างว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐ…แต่ประการใด การกระทำของจำเลยเป็นการใส่ความโจทก์ด้วยทำให้ปรากฏเป็นตัวอักษร ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์…” โดยโจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า จำเลยใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3 โดยการโฆษณาอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328 แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตามมาตรา 328 มาด้วยก็ตาม ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง

    เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายว่าคดีอยู่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นไม่สามารถจะยกข้อกฎหมายตามมาตรา 329 (1) (3) ขึ้นวินิจฉัยได้ เห็นว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไว้ว่า หากข้อเท็จจริงตามที่รับฟังดังทางไต่สวนมูลฟ้องต้องด้วย ป.อ. มาตรา 329 ศาลย่อมมีอำนาจหยิบยกข้อความจริงนี้ขึ้นเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยคดีได้ หาใช่เรื่องจำกัดเฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นกรณีที่จำเลยเท่านั้นที่มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นแล้วพิพากษายืนดังนั้นที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ข้อความที่จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ตามที่ปรากฏในเอกสารต้องอ่านทั้งหมด มิใช่ยกข้อความตอนใดตอนหนึ่งแล้วแปลว่าไม่มีข้อความหมิ่นประมาท เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุมัติให้เช่าพื้นที่ขายสินค้า ต่อมาจำเลยประสงค์จะเช่าพื้นที่ จึงใช้เล่ห์เพทุบายทำหนังสือดังกล่าวให้สอบสวนว่าโจทก์ไม่สุจริต จึงมิใช่กรณีแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ฎีกาโจทก์ดังกล่าวมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดเจนต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 225

    เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่มีมูลและพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย การที่โจทก์ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงว่า คดีโจทก์มีมูลความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัย ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้จะมีการอนุญาตให้ฎีกามาก็ตาม ศาลฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ได้เช่นกัน


    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]
    วันที่เพิ่ม : วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 02:42:57
    ปรับปรุงล่าสุด : วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 02:42:57


    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328    มาตรา ๓๒๘
        ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท

    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329    มาตรา ๓๒๙
        ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
        (๑) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
        (๒) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
        (๓) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
        (๔) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
        ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท


    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 387 / 2552
    คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328 ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าจำเลยแถลงข่าวเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินอยู่ในทำนองคลองธรรมและเป็นไปในทางสุจริต มีความชอบธรรมที่จะเปิดเผยให้ประชาชนทราบถึงข้อเท็จจริงเพื่อป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตลอดจนแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยไม่มีอคติใดๆ กับโจทก์ จึงมิใช่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ตาม ป.อ. มาตรา 329 นั้น ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการประสงค์ให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์ ซึ่งเท่ากับเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่าการแถลงข่าวของจำเลยที่ 1 ว่าโจทก์ได้รับผลประโยชน์จำนวนมากจากโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซี.ดี.เอ็ม.เอ ทั้งๆ ที่จำเลยที่ 1 ทราบดีว่าการแถลงข่าวเช่นนั้นเป็นเรื่องไม่จริง โจทก์จะได้รับความเสียหายถือว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงมิใช่ปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง


    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]
    วันที่เพิ่ม : วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 02:27:57
    ปรับปรุงล่าสุด : วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 02:31:55


    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326    มาตรา ๓๒๖
        ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328    มาตรา ๓๒๘
        ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท


    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 3520 / 2543 (ประชุมใหญ่)

    คำพิพากษาย่อสั้น
    ข้อความที่ตีพิมพ์โฆษณาว่า ผู้เสียหายอนุมัติให้จัดจ้างโดยวิธีพิเศษฝ่าฝืนมติที่ประชุมคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคครั้งล่าสุดห้ามไม่ให้ผู้เสียหายดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ และข้อความว่าผู้เสียหายเจตนากำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาที่ปรากฏอยู่ในเงื่อนไขทั่วไป ส่อเจตนาไปในทางเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนรายหนึ่งที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้เสียหายมานานข้อความทั้งสองประการดังกล่าวไม่ได้อ้างถึงข้อความจริงอันเป็นการแสดงความคิดเห็น แต่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์เชื่อว่า ผู้เสียหายอนุมัติให้จัดจ้างโดยวิธีพิเศษฝ่าฝืนต่อมติที่ประชุมคณะกรรมการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และผู้เสียหายเจตนากำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาส่อเจตนาไปในทางเอื้อประโยชน์แก่เอกชนที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้เสียหาย ซึ่งจำเลยที่ 2 ก็รับมาในฎีกาว่าเป็นข้อความที่คลาดเคลื่อนไปจริง ข้อความทั้งสองประการดังกล่าวจึงเป็นข้อความที่ยืนยันข้อเท็จจริงใส่ความผู้เสียหายด้วยการเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์โดยประการที่ น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง หาใช่เป็น การแสดงข้อความโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชน ย่อมกระทำไม่ จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้เสียหาย โดยการโฆษณาด้วยเอกสาร
    เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 แล้วไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 326 อีก
    คำพิพากษาย่อยาว
    โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลและเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันร่วมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ดังกล่าว เขียนและโฆษณาตีพิมพ์ข้อความใส่ความหมิ่นประมาทนายจุลพงศ์ จุลเกศผู้เสียหายต่อประชาชนโดยทั่วไปลงในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันฉบับประจำวันที่ 4 เมษายน 2539 ความว่า "จุลพงศ์" หน้ามืดไม่สนคุก หวังพ้นผิดเอาใจเทศบาลเชียงใหม่ลงนามป้อนโรงไฟฟ้าถึงขั้นไม่กลัวอาญา งบจ้างเหมาเคเบิล 92.2 ล้านบาท อนุมัติเกินอำนาจพบไม่โปร่งใสเพียบทุกอย่างแล้วเสร็จภายในวันเดียว ไม่แคร์มติบอร์ดห้ามจัดซื้อจัดจ้างพิเศษ และมีรายละเอียดประกอบว่าเมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา นายจุลพงศ์ จุลเกศ ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้อนุมัติให้มีการดำเนินการจ้างเหมาก่อสร้างปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้ารอบคูเมืองจังหวัดเชียงใหม่ด้วยวิธีพิเศษในลักษณะ TURN KEY ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนมติที่ประชุมของคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคครั้งล่าสุด ห้ามมิให้นายจุลพงศ์จัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษโดยเด็ดขาด แต่ปรากฏว่านายจุลพงศ์ ไม่ยอมปฏิบัติแต่อย่างใด ฯลฯ ทั้งนี้โครงการดังกล่าวไม่อยู่ในแผนการลงทุนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคปี 2539 แต่อย่างใด แต่นายจุลพงศ์พยายามผลักดันโดยการให้สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 ภาคเหนือ เป็นผู้เสนอโครงการขึ้นมาโดยอ้างเหตุผลว่าเป็นความต้องการเร่งด่วน และยังมีการหมกเม็ดโดยการเขียนบันทึกในการอนุมัติว่าอนุมัติในหลักการเสนอคณะกรรมการบริหารการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (บอร์ดเล็ก) เพื่อเลี่ยงมิให้บอร์ดยับยั้งโครงการนี้ รายงานข่าวแจ้งต่อไปว่าได้มีการเสนอหลักการและเหตุผลของโครงการนี้ว่าเป็นความร่วมมือเทศบาลนครเชียงใหม่ในการฉลองวาระครบ 700 ปี ของเมืองเชียงใหม่ในปี 2539 โดยใช้งบประมาณในการดำเนินการ 92.2 ล้านบาท รายงานข่าวแจ้งว่ายังมีการกำหนดวงเงินค่าก่อสร้างจำนวน 92.2 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าประมาณการในชั้นต้นประมาณ 70 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งมีส่วนต่างกันถึง 22 ล้านบาทเศษ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาที่ปรากฏอยู่ในเงื่อนไขทั่วไปที่เป็นเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนคู่สัญญาตามเงื่อนไขข้อ 1.4 จะต้องมีประวัติเป็นคู่สัญญากับทางราชการหรือองค์การของรัฐหรือผู้รับจ้างช่วงโดยมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท เท่ากับเป็นการปิดทางเอกชนรายอื่น ๆ ที่มีประสบการณ์ในงานวางระบบเคเบิลใต้ดิน แต่ไม่เคยมีประวัติในฐานะคู่สัญญาของหน่วยราชการมาก่อน และส่อเจตนาไปในทางเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายหนึ่งที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับนายจุลพงศ์มายาวนานยังมีข้อสังเกตอีกประการหนึ่งว่าในวันที่ 22 มีนาคม 2539 เป็นวันที่นายชาญ ถิระศุภะ ผู้อำนวยการฝ่ายเร่งรัดโครงการได้รับหนังสือจากกองจัดการโครงการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแล้วอนุมัติเสนอต่อนายจุลพงศ์ แล้วมีการลงนามในวันเดียวกันโดยไม่มีขั้นตอนในการพิจารณารอบคอบแต่อย่างใด รายละเอียดข้อความดังกล่าวปรากฏในสำเนาภาพถ่ายหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันเอกสารท้ายฟ้อง หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวได้วางจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วราชอาณาจักร ข้อความดังกล่าวมีความหมายเป็นการใส่ความผู้เสียหายต่อบุคคลที่สามว่าผู้เสียหายซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ผิดระเบียบ มีเงื่อนงำ เร่งรัดจ้างเหมาโดยวิธีพิเศษ กำหนดประมาณการวงเงินค่าก่อสร้างปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้ารอบคูเมืองจังหวัดเชียงใหม่สูงผิดปกติ เป็นการอนุมัติวงเงินเกินอำนาจโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและกำหนดเงื่อนไขพิเศษต่างหากเพื่อให้โอกาสกับบริษัทเอกชนที่เป็นพรรคพวกได้รับงานประมูลการก่อสร้างดังกล่าว ซึ่งไม่เป็นความจริงทำให้ผู้เสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ทั้งทางด้านส่วนตัวและทางการปฏิบัติหน้าที่ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 326,328 พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 48
    จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
    ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484มาตรา 48 จำคุก 2 เดือน ปรับ 10,000 บาท จำเลยที่ 2 ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน และประกอบอาชีพการงานเป็นหลักแหล่ง เห็นควรให้โอกาสแก่จำเลยที่ 2โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1
    จำเลยที่ 2 อุทธรณ์
    ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
    จำเลยที่ 2 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
    ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ปัญหาตามฎีกาจำเลยที่ 2 ประการสุดท้ายว่าจำเลยที่ 2กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้เสียหายโดยการโฆษณาด้วยเอกสารหรือไม่ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าขณะเกิดเหตุผู้เสียหายดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุได้มีข้อความเรื่องการอนุมัติโครงการก่อสร้างปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้ารอบคูเมืองจังหวัดเชียงใหม่ของผู้เสียหายตามฟ้องตีพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา สำหรับข้อความที่ตีพิมพ์โฆษณาว่าผู้เสียหายอนุมัติโครงการเกินวงเงินที่ผู้เสียหายมีอำนาจ งบจ้างเหมาเคเบิลพิเศษ 92.2ล้านบาท สูงกว่าประมาณการขั้นต้นประมาณ 70 ล้านบาทเท่านั้น โครงการนี้ไม่อยู่ในแผนการลงทุนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคปี 2539 แต่ผู้เสียหายพยายามผลักดันเพื่อเลี่ยงมิให้บอร์ดยับยั้งโครงการและการอนุมัติของผู้เสียหายเป็นการดำเนินการที่เกินอำนาจตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายชัดเจนผู้เสียหายไม่มีอำนาจดำเนินการอนุมัติการจัดซื้อ จัดจ้างในวงเงิน 92.2 ล้านบาทโดยไม่ผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้น เป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่า ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท คงมีปัญหาวินิจฉัยเฉพาะข้อความที่ตีพิมพ์โฆษณาว่า ผู้เสียหายอนุมัติให้จัดจ้างโดยวิธีพิเศษฝ่าฝืนมติที่ประชุมคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคครั้งล่าสุดห้ามไม่ให้ผู้เสียหายดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้างโดยวิธีพิเศษ และข้อความว่าผู้เสียหายเจตนากำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาที่ปรากฏอยู่ในเงื่อนไขทั่วไป ส่อเจตนาไปในทางเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนรายหนึ่งที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้เสียหายมานานจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยหรือไม่เห็นว่า ข้อความทั้งสองประการดังกล่าว มิได้อ้างถึงข้อความจริงอันเป็นการแสดงความคิดเห็น แต่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์เชื่อว่าผู้เสียหายอนุมัติให้จัดจ้างโดยวิธีพิเศษฝ่าฝืนต่อมติที่ประชุมคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และผู้เสียหายเจตนากำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาส่อเจตนาไปในทางเอื้อประโยชน์แก่เอกชนที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้เสียหายซึ่งจำเลยที่ 2 ก็รับมาในฎีกาว่าเป็นข้อความที่คลาดเคลื่อนไปจริง ข้อความทั้งสองประการดังกล่าวจึงเป็นข้อความที่ยืนยันข้อเท็จจริงใส่ความผู้เสียหายด้วยการเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง หาใช่เป็นการแสดงข้อความโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่ ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าพนักงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพูดกันว่า คณะกรรมการเคยมีมติห้ามผู้ว่าการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ จำเลยที่ 2 ในฐานะสื่อมวลชนต้องการเสนอข่าวโดยฉับไวและเข้าใจว่าคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีมติห้ามผู้ว่าการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษเป็นการเข้าใจคลาดเคลื่อนเพราะฝ่ายบริหารของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพยายามปกปิดข้อมูลนั้น เห็นว่า แม้จำเลยที่ 2 จะต้องเสนอข่าวโดยฉับไว แต่ข้อความที่ตีพิมพ์โฆษณาก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของความจริง จำเลยที่ 2 มิได้ตีพิมพ์โฆษณาว่าพนักงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพูดกันว่าคณะกรรมการการไฟฟ้าภูมิภาคเคยมีมติห้ามผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษเท่าที่ได้ข่าวมา แต่กลับตีพิมพ์โฆษณายืนยันข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายอนุมัติให้จัดจ้างโดยวิธีพิเศษฝ่าฝืนต่อมติคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ไม่เป็นการตีพิมพ์โฆษณาโดยเข้าใจคลาดเคลื่อนดังที่อ้างและที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ตีพิมพ์โฆษณาข้อความว่าผู้เสียหายเจตนาจัดทำคุณสมบัติผู้เสนอราคาส่อเจตนาไปในทางเอื้อประโยชน์แก่เอกชนที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้เสียหาย จากพฤติกรรมการอนุมัติโครงการก่อสร้างปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้ารอบคูเมืองจังหวัดเชียงใหม่ของผู้เสียหายที่บกพร่องต่อหน้าที่ ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนและขัดต่อระเบียบข้อบังคับของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้น เห็นว่าข้อเท็จจริงที่ผู้เสียหายจัดทำคุณสมบัติผู้เสนอราคาเป็นการกระทำคนละส่วนกับการอนุมัติโครงการก่อสร้าง การที่จำเลยที่ 2 ตีพิมพ์โฆษณาข้อความว่าผู้เสียหายเจตนาจัดทำคุณสมบัติผู้เสนอราคาส่อเจตนาไปในทางเอื้อประโยชน์แก่เอกชนที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้เสียหาย โดยไม่มีข้อมูลหรือข้อเท็จจริงชี้ให้เห็นว่าผู้เสียหายได้กระทำดังที่ตีพิมพ์โฆษณาจริงย่อมเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่ามุ่งประสงค์ใส่ความผู้เสียหาย ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้เสียหายโดยการโฆษณาด้วยเอกสารเฉพาะข้อความสองประการดังที่วินิจฉัยมานั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้นแต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 กระทำผิดเฉพาะข้อความสองประการจากที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นความผิดทุกข้อความตามฟ้องเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 เป็นผลร้ายน้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษจำเลยที่ 2 ก็ควรเปลี่ยนไปในทางลดลงจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดมาด้วย แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ศาลฎีกาก็แก้ไขโดยกำหนดโทษให้เหมาะสมได้
    อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 มาด้วยนั้น เห็นว่า ยังไม่ถูกต้อง เพราะในความผิดฐานหมิ่นประมาทเมื่อจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามมาตรา 328 แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องยกมาตรา 326 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก"
    พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 ลงโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 1 เดือนและปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
    ผู้พิพากษา
    สมศักดิ์ เนตรมัย
    กนก พรรณรักษา
    ปรีดี รุ่งวิสัย


    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]
    วันที่เพิ่ม : วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 20:02:04
    ปรับปรุงล่าสุด : วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 03:17:51


    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326    มาตรา ๓๒๖
        ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328    มาตรา ๓๒๘
        ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท


    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 1513 / 2551 (ประชุมใหญ่)

    การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม อันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และมาตรา 328 นั้น จะต้องได้ความว่าการใส่ความดังกล่าวได้ระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความเป็นการยืนยันรู้ได้แน่นอนว่าเป็นใคร หรือหากไม่ระบุถึงผู้ที่ถูกใส่ความโดยตรง การใส่ความนั้นก็ต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ และความผิดฐานหมิ่นประมาทที่ได้กระทำโดยการโฆษณาทางหนังสือพิมพ์นั้นต้องพิเคราะห์จากข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ตามคำฟ้องเท่านั้นว่า ผู้อ่านสามารถทราบได้หรือไม่ว่าบุคคลที่ถูกกล่าวอ้างตามที่ลงพิมพ์นั้นเป็นผู้ใด
    ข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ไม่มีข้อความในที่ใดที่ระบุชื่อและนามสกุลของโจทก์หรือพอจะให้ทราบได้ว่าเป็นโจทก์ผู้บังคับการ พ. กองบังคับการหมายเลข 5 ที่กำลังจะเกษียณในปี 2546 ได้ไป 3 ล้านบาท ทำทุนหลังเกษียณนั้น ก็ไม่ได้ระบุชื่อโดยชัดแจ้งว่าเป็นผู้ใด ชื่อที่ระบุเป็นเพียงอักษรย่อเท่านั้น และมิได้ระบุนามสกุล ทั้งสถานที่ทำงานกองบังคับการหมายเลข 5 ก็ไม่ชัดเจนว่าเป็นที่ใดบุคคลทั่วไปที่อ่านข้อความย่อมไม่อาจทราบหรือเข้าใจได้ว่าอักษรย่อ พ. หมายความถึงผู้ใดและเป็นเรื่องจริงตามที่ลงพิมพ์หรือไม่ หากต้องการรู้ความหมายว่าเป็นผู้ใดก็ต้องไปสืบเสาะค้นหาเพิ่มเติมทั้งไม่แน่ว่าหลังจากสืบเสาะค้นหาเพิ่มเติมแล้วจะเป็นตัวโจทก์จริงหรือไม่และหากหลังจากสืบเสาะค้นหาแล้วจึงทราบว่าหมายความถึงโจทก์ก็มิใช่ทราบจากข้อความที่ลงพิมพ์ แต่ทราบจากการที่บุคคลผู้นั้นได้สืบเสาะค้นหาข้อเท็จจริงมาเองในภายหลัง มิได้ทราบว่าหมายความถึงโจทก์โดยอาศัยข้อความจากหนังสือพิมพ์ ลำพังเพียงข้อความตามที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์จึงยังไม่เป็นข้อความที่หมิ่นประมาทโจทก์


    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]
    วันที่เพิ่ม : วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 03:21:24
    ปรับปรุงล่าสุด : วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 03:21:24


    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328    มาตรา ๓๒๘
        ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท


    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 1325 / 2498
    กรณีกล่าวถึง ในลักษณะเป็นกลุ่มบุคคล โดยไม่ได้เจาะจงถึงผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะในกลุ่มบุคคลนั้น จะถือว่าทุกคนเป็นผู้เสียหายไม่ได้

    ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2498 กรณีที่จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทข้อความที่กล่าวจะต้องมุ่งเจาะจงถึงบุคคลใดโดยเฉพาะ และโจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความถึงบุคคลผู้ถูกหมิ่นประมาทนั้นด้วย
    เมื่อในคำโฆษณามีความหมายเฉพาะนายแพทย์ชายคนหนึ่ง ไม่มีกินความถึงนายแพทย์ทุก ๆ คนของโรงพยาบาลศิริราช ทั้งโจทก์หาได้นำสืบถึงนายแพทย์คนที่ถูกใส่ความหมิ่นประมาทก็ย่อมทราบไม่ได้ว่านายแพทย์คนใดเป็นผู้เสียหาย
    เมื่อตามคำฟ้องไม่มีช่องทางแสดงให้เห็นว่าจำเลยมุ่งหมายกล่าวใส่ความถึงนายแพทย์เฉลิม นายแพทย์เฉลิมจึงมิใช่ผู้เสียหายอันจะพึงร้องทุกข์ได้


    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]
    วันที่เพิ่ม : วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 21:43:44
    ปรับปรุงล่าสุด : วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 21:43:44


    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328    มาตรา ๓๒๘
        ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท


    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 10839 / 2557
    การที่จำเลยไปให้ข่าวและหนังสือพิมพ์ได้ลงข่าวแพร่หลายทั่วจังหวัดลำปางว่า จำเลยซื้อสลากเลขท้าย 3 ตัวตรงหมายเลข 966 ประจำงวดวันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 แล้วถูกรางวัล โจทก์ร่วมไม่ยอมจ่ายเงินรางวัลให้แก่จำเลยซึ่งไม่เป็นความจริง ถือเป็นการใส่ความโจทก์ร่วมโดยมุ่งประสงค์ให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง และการที่จำเลยให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ จำเลยย่อมทราบดีว่าผู้รับข้อความคือผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เป็นผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนอาจนำเสนอข่าวสารที่ได้รับมาเผยแพร่ต่อบุคคลทั่วไป ทั้งข้อความที่จำเลยให้สัมภาษณ์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการถูกเงินรางวัล แต่ไม่ได้รับเงินรางวัลอันเป็นความหวังของบุคคลทั่วไปที่ซื้อสลาก ซึ่งมีลักษณะเป็นเรื่องที่สนใจของประชาชน ถือว่าจำเลยมีเจตนาเล็งเห็นผลได้ว่าผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ต้องนำข้อความที่จำเลยให้สัมภาษณ์ไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ตามที่จำเลยให้สัมภาษณ์ เมื่อหนังสือพิมพ์นำข้อความที่ให้สัมภาษณ์ไปลงพิมพ์โฆษณาสมตามเจตนาของจำเลยแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328


    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]
    วันที่เพิ่ม : วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 03:27:48
    ปรับปรุงล่าสุด : วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 03:02:05


    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326    มาตรา ๓๒๖
        ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328    มาตรา ๓๒๘
        ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท


    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 1612 / 2564
    การแจ้งหรือไขข่าวลงในกลุ่มไลน์ไม่ถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา แต่ผิดหมิ่นประมาท
    ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ผู้กระทำต้องเผยแพร่ข้อความอันเป็นการหมิ่นประมาทออกไปยังสาธารณะชนหรือประชาชนทั่วไป การที่จำเลยส่งข้อความลงในแอปพลิเคชั่นไลน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเพียงเจตนาการแจ้งหรือไขข่าวเฉพาะกลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในกลุ่มไลน์ นี้เท่านั้นจึงยังไม่ถึงกับเป็นการกระจายข่าวไปสู่สาธารณะชนหรือประชาชนทั่วไปการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 คงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326

    คำพิพากษาฎีกาที่ 1612/2564
    พนักงานอัยการจังหวัดธัญบุรี โจทก์
    นาย บ. โจทก์ร่วม
    นาย ช. จำเลย

    ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เรื่อง อุทธรณ์ฎีกา ห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง (มาตรา 218)
    แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ไขทั้งบทลงโทษและกำหนดโทษ อันเป็นการแก้ไขมาก แต่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า ที่จำเลยส่งข้อความเข้าไปในกลุ่มไลน์มีลักษณะเป็นเพียงเจตนาการแจ้งหรือไขข่าวเฉพาะกลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในกลุ่มไลน์เท่านั้นเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริง ฎีกาของโจทก์ทำนองว่ามิได้มีเพียงเจตนาการแจ้งหรือไขข่าวเฉพาะกลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในไลน์เท่านั้น เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ผู้กระทำต้องเผยแพร่ข้อความอันเป็นการหมิ่นประมาทออกไปยังสาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป จำเลยส่งข้อความลงในแอปพลิเคชันไลน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเพียงเจตนาการแจ้งหรือไขข่าวเฉพาะกลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในกลุ่มไลน์เท่านั้น ยังไม่ถึงกับเป็นการกระจายข่าวไปสู่สาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328
    โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2560 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาประกาศให้ประชาชนทั่วไปทราบด้วยตัวอักษร โดยการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ทางอินเทอร์เน็ตผ่านสังคมออนไลน์ในแอปพลิเคชันไลน์ (LINE) กลุ่มที่ใช้ชื่อว่า "เพื่อน.พฤกษา.20" โดยทำให้ปรากฎข้อความอักษรใส่ความนาย บ. ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้เสียหายคนหนึ่งในบรรดาผู้เสียหายจำนวนหลายคนที่ถูกจำเลยใส่ความเผยแพร่ให้แก่นางสาว ด. นาย ก. และบุคคลผู้เป็นสมาชิกในกลุ่มดังกล่าวซึ่งเป็นบุคคลที่สามซึ่งสามารถเห็นและอ่านข้อความบทสนทนาได้ โดยข้อความเท็จดังกล่าวมีเนื้อหาใส่ความว่า "แผนที่ให้คนของตัวเองมาเป็นประธานหรือหัวหน้า 48 คน ก็เพราะซูเอี๋ยระหว่างผู้มีอำนาจในเทศบาลกับบริษัทพฤกษา ซึ่งเงินก้อนใหญ่ ประมาณ 20 ล้าน ก็จะหายไปกับสายลมทั้งๆ ที่บริษัทพฤกษาต้องนำมาปรับปรุงถนน ท่อระบายและอื่นๆ จากนั้นเมื่อโอนเรียบร้อยเทศบาลก็หางบประมาณลงมาทำให้เพราะตอนนี้พฤกษา 20 ยังไม่โอน เทศบาลยังกล้าทำแผนพัฒนาเตรียมงบมาลง" ซึ่งทำให้บุคคลที่สามและบุคคลทั่วไปที่พบเห็นข้อความดังกล่าวเข้าใจว่าผู้เสียหายมีพฤติกรรมที่ทุจริตเงินแผ่นดิน มีการสมยอมกับบริษัทเอกชนยักยอกเงินหลวง จำนวน 20 ล้านบาท แล้วนำมาแบ่งกันระหว่างผู้เสียหายกับบริษัทเอกชนดังกล่าว อันเป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังจากผู้อ่านหรือประชาชนทั่วไปได้ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328
    จำเลยให้การปฏิเสธ
    ระหว่างพิจารณา นาย บ. ผู้เสียหาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต และโจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิดจนกว่าจะชำระเสร็จจำเลยให้การในคดีส่วนแพ่งว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง ขอให้ยกคำร้อง
    ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 จำคุก 2 ปีให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทน 20,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ร่วม
    จำเลยอุทธรณ์
    ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ลงโทษปรับ 20,000 บาท
    สถานเดียว ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งในศาลชั้นต้นให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
    โจทก์ฎีกา
    ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ปรากฎว่าโจทก์ฎีกาทั้งปัญหาข้อกฎหมายและปัญหาข้อเท็จจริง กล่าวคือ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำมาสืบรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 จำคุก 2 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังยุติว่าโจทก์ร่วมเป็นนายกเทศมนตรีเมืองลำสามแก้ว ส่วนจำเลยเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองลำสามแก้ว เขต 2 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2559 บริษัทพฤกษา เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน) มีหนังสือถึงสภาเทศบาลเมืองลำสามแก้ว ขอให้พิจารณารับโอนที่ดินแปลงสาธารณูปโภคโครงการบ้านพฤกษา 20 เป็นสาธารณประโยชน์และอยู่ในพื้นที่การปกครองดูแลของเทศบาลเมืองลำสามแก้ววันที่ 25 พฤษภาคม 2559 ที่ประชุมสภาเทศบาลเมืองลำสามแก้วมีมติเห็นชอบรับโอนที่ดินแปลงสาธารณูปโภคโครงการบ้านพฤกษา 20 ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของจำเลยให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่เทศบาลเมืองลำสามแก้ว วันที่ 27 มกราคม 2560 โจทก์ร่วมในฐานะนายกเทศมนตรีเมืองลำสามแก้วมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานบริหารจัดการบริการสาธารณะหมู่บ้านพฤกษา 20 จำนวน 48 คน นาย ช. เป็นผู้พักอาศัยในหมู่บ้านพฤกษา 20 และเป็นผู้ตั้งกลุ่มในแอปพลิเคชันไลน์ ชื่อ "เพื่อน.พฤกษา.20" จำเลยเป็นหนึ่งในสมาชิกจำนวน 344 คน ของแอปพลิเคชันไลน์ดังกล่าว เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2560 จำเลยส่งข้อความเข้าไปในแอปพลิเคชันไลน์ดังกล่าวว่า "แผนที่ให้คนของตัวเองมาเป็นประธานหรือหัวหน้า 48 คน ก็เพราะซูเอี๋ยระหว่างผู้มีอำนาจในเทศบาลกับบริษัทพฤกษาซึ่งเงินก้อนใหญ่ประมาณ 20 ล้าน ก็จะหายไปกับสายลมทั้งๆ ที่บริษัทพฤกษาต้องนำมาปรับปรุงถนน ท่อระบายและอื่นๆ จากนั้นเมื่อโอนเรียบร้อยเทศบาลก็หางบประมาณลงมาทำให้ เพราะตอนนี้พฤกษา 20 ยังไม่โอน เทศบาลยังกล้าทำแผนพัฒนาเตรียมงบมาลง" ต่อมา นาวาอากาศเอก ก. ที่ปรึกษาหัวหน้าคณะทำงานบริหารจัดการบริการสาธารณะหมู่บ้านพฤกษา 20 ส่งข้อความดังกล่าวเข้าไปในกลุ่มแอปพลิเคชันไลน์ ชื่อ "พฤกษา 20 เฟส 1 " ซึ่งมีนาย ก. หัวหน้าคณะทำงานดังกล่าวเป็นสมาชิกอยู่ด้วย นาย ก. บันทึกหน้าจอข้อความดังกล่าวแล้วส่งต่อให้แก่นางสาว ด. รองนายกเทศมนตรีเมืองลำสามแก้ว นางสาว ด.ส่งข้อความดังกล่าวต่อให้แก่โจทก์ร่วม แล้วศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยต่อไปว่า การที่จำเลยส่งข้อความเข้าไปในแอปพลิเคชันไลน์กลุ่ม เพื่อน.พฤกษา.20 มีลักษณะเป็นเพียงเจตนาแจ้งหรือไขข่าวเฉพาะกลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในกลุ่มไลน์ดังกล่าวไม่ถึงกับเป็นการกระจายข่าวไปสู่สาธารณชนหรือประชาชนทั่วไปการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 พิพากษาแก้ จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ลงโทษปรับ 20,000 บาท สถานเดียว โจทก์ฎีกาว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 328 ด้วย โดยฎีกาทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายรวมกันมา กล่าวคือฎีกาว่า การที่จำเลยส่งข้อความดังกล่าวทางแอปพลิเคชันไลน์ในกลุ่มชื่อ เพื่อน.พฤกษา.20 ปรากฎว่ามีสมาชิกในกลุ่มถึง 344 คน ถือว่าเป็นกลุ่มแอปพลิเคชันไลน์ที่มีสมาชิกจำนวนมากผู้ที่รับข้อความหมิ่นประมาทจึงมีจำนวนมากเหมือนการโพสต์ข้อความแบบสาธารณะ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมอย่างแพร่หลาย อีกทั้งกลุ่มไลน์ดังกล่าวก็อาจเพิ่มจำนวนได้โดยการรับเพื่อนเพิ่มเติมเข้ามาได้อีกถ้ามิใช่กลุ่มปิด ข้อความที่ส่งก็จะคงอยู่ในไลน์นั้นตลอดไปหากมีผู้เซฟข้อความเอาไว้ ซึ่งจำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าข้อความนั้นอาจมีผู้อื่นอ่านได้ถึง 344 คน หรือมากกว่านั้นถ้าสมาชิกในกลุ่มส่งข้อความให้บุคคลภายนอกกลุ่มผู้รับข้อความก็จะเพิ่มมากขึ้นได้อีก การส่งข้อความในไลน์กลุ่มจึงมิใช่การไขข่าวเฉพาะกลุ่ม แต่มีบุคคลภายนอกกลุ่มอาจรับรู้ได้ด้วย และกลุ่มไลน์ที่มีสมาชิกในกลุ่มเป็นจำนวนมากถึงพันคนหรือหมื่นคนก็มี ทั้งบุคคลในกลุ่มก็อาจไม่ได้รู้จักกันทุกคน การส่งข้อความทางกลุ่มไลนซึ่งมีสมาชิกจำนวนมากอาจมีผู้อ่านไลน์มากกว่าการโพสต์แบบสาธารณะเสียอีก จำเลยย่อมเล็งเห็นผลและประสงค์ต่อผลในการกระทำของตนได้ว่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการโฆษณาต่อสาธารณชน การส่งข้อความของจำเลยจึงถือได้ว่าเป็นการกระทำต่อสาธารณชนโดยการโฆษณาอันเป็นความผิดตามมาตรา 328 แล้วนั้น เห็นว่า แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ไขทั้งบทลงโทษและกำหนดโทษ อันเป็นการแก้ไขมากก็ตาม แต่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าที่จำเลยส่งข้อความเข้าไปในกลุ่มไลน์นี้มีลักษณะเป็นเพียงเจตนาการแจ้งหรือไขข่าวเฉพาะกลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในกลุ่มไลน์นี้เท่านั้นเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริง การที่โจทก์ฎีกาดังกล่าวเป็นการฎีกาทำนองว่ามิได้มีเพียงเจตนาการแจ้งหรือไขข่าวเฉพาะกลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในไลน์นี้เท่านั้นเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงส่วนที่โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ที่ฎีกาว่า การที่จำเลยส่งข้อความดังกล่าวทางแอปพลิเคชันไลน์ในกลุ่มชื่อเพื่อน.พฤกษา.20 ซึ่งมีสมาชิกกลุ่มถึง 344 คน ถือว่าเป็นกลุ่มไลน์ที่มีสมาชิกจำนวนมาก ผู้ที่รับรู้ข้อความหมิ่นประมาทจึงมีจำนวนมากเหมือนการโพสต์ข้อความแบบสาธารณะซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมอย่างแพร่หลายนั้น เห็นว่า ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ผู้กระทำต้องเผยแพร่ข้อความอันเป็นการหมิ่นประมาทออกไปยังสาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป การที่จำเลยส่งข้อความลงในแอปพลิเคชันไลน์นี้ ซึ่งข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับฟังมาดังกล่าวแล้วว่ามีลักษณะเป็นเพียงเจตนาการแจ้งหรือไขข่าวเฉพาะกลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในกลุ่มไลน์นี้เท่านั้น ดังนั้น จึงยังไม่ถึงกับเป็นการกระจายข่าวไปสู่สาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ในส่วนปัญหาข้อกฎหมายนี้ ฟังไม่ขึ้น"
    พิพากษายืน
    (ประทีป ดุลพินิจธรรมา โสภณ บางยี่ขัน กษิดิศ มงคลศิริภัทรา)


    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]
    วันที่เพิ่ม : วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 22:41:54
    ปรับปรุงล่าสุด : วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 22:41:54


    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2    มาตรา ๒
        บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
        ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง

    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328    มาตรา ๓๒๘
        ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท


    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 2778 / 2561
    พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับนับแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2560 อันเป็นเวลาระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โดยความในมาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความที่บัญญัติใหม่แทน โดยมาตรา 14 ที่บัญญัติใหม่ได้ยกเลิกความในมาตรา 14 (1) จากเดิมที่บัญญัติว่า " (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน " โดยบัญญัติความใน (1) ใหม่เป็นว่า " (1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา " กรณีเป็นเรื่องกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังกำหนดองค์ประกอบความผิดฐานนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จว่าต้องไม่เป็นการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาด้วยจึงจะเข้าเกณฑ์เป็นความผิด เมื่อคดีได้ความว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 การกระทำของจำเลยที่ 2 ย่อมไม่เป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) ที่บัญญัติในภายหลัง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง และจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีความผิดตามมาตรา 14 (5) ซึ่งเป็นบทความผิดฐานเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 14 (1) ด้วย กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายนี้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225


    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]
    วันที่เพิ่ม : วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 23:05:26
    ปรับปรุงล่าสุด : วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 23:05:26


    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328    มาตรา ๓๒๘
        ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท


    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 5276 / 2562
    การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง อันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และมาตรา 328 ต้องเป็นการใส่ความระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความเป็นการยืนยันรู้ได้แน่นอนว่าบุคคลที่ถูกใส่ความเป็นใคร หรือหากไม่ระบุถึงผู้ที่ถูกใส่ความโดยตรง การใส่ความนั้นก็ต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ​
    ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ผู้กระทำต้องเผยแพร่ข้อความอันเป็นการหมิ่นประมาทออกไปยังสาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป การที่จำเลยส่งข้อความลงในแอปพลิเคชั่นไลน์กลุ่มโพสท์นิวส์ออนไลน์ มีลักษณะเป็นเพียงเจตนาการแจ้งหรือไขข่าวไปยังเฉพาะกลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในกลุ่มไลน์เท่านั้น ยังไม่ถึงกับเป็นการกระจายข่าวไปสู่สาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป คดีโจทก์ไม่มีมูลความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328


    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]
    วันที่เพิ่ม : วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เวลา 00:58:43
    ปรับปรุงล่าสุด : วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เวลา 00:58:43


    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328    มาตรา ๓๒๘
        ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท


    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 3877 / 2565
    #หมิ่นประมาททางเฟสบุ๊ก

    แม้จะโพสต์ข้อความไม่ระบุชื่อใคร แต่ถ้าเป็นการใส่ความผู้อื่นยืนยันรู้แน่นอนว่าเป็นใคร หรือได้ความว่าเป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะย่อมเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้
    .
    ฎีกาที่ 3877/2565 ข้อความและภาพถ่ายที่ดิน ที่จำเลยโพสต์ใน Facebook ของจำเลยไม่ได้ระบุชื่อโจทก์ผู้ถูกใส่ความไว้โดยตรง แต่เมื่อนำมาพิจารณาประกอบความเห็นของจำเลยที่ตอบคำถามของเพื่อนที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นว่า “คนที่จำเลยกล่าวถึงนั้นหมายถึงใคร ” จำเลยตอบคำถามของเพื่อนว่า “ คือคนข้างบ้านของจำเลย” เมื่อ น และ ธ คนในหมู่บ้านเดียวกับโจทก์และจำเลย ซึ่งเป็นบุคคลที่สามรับทราบเรื่องดังกล่าวก็เข้าใจได้ทันทีว่าจำเลยหมายถึงโจทก์การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท

    ความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ผู้กระทำต้องเผยแพร่ข้อความ ภาพ และเสียง อันเป็นการหมิ่นประมาทออกไปยังสาธารณะชน หรือประชาชนทั่วไป การที่จำเลยโพสต์ข้อความและภาพลงใน Facebook ของจำเลย มีลักษณะเป็นเพียงการแจ้งหรือไข่ขาวไปยังเฉพาะกลุ่มบุคคลที่เป็นเพื่อนของจำเลยใน Facebook เท่านั้น ยังไม่ถึงกับมีเจตนากระจายข่าวไปสู่สาธารณะชนหรือประชาชนทั่วไป จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา
    .
    ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าการหมิ่นประมาทดังกล่าวไม่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียของตนตามคลองธรรม หรือติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ อันเป็นข้อยกเว้นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 329(1)(3) แต่อย่างใด


    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]
    วันที่เพิ่ม : วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 03:13:51
    ปรับปรุงล่าสุด : วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 03:13:51


    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78    มาตรา ๗๘
        เมื่อปรากฏว่ามีเหตุบรรเทาโทษ ไม่ว่าจะได้มีการเพิ่มหรือการลดโทษตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นแล้วหรือไม่ ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นก็ได้
        เหตุบรรเทาโทษนั้น ได้แก่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญาตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีคุณความดีมาแต่ก่อน รู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น ลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานหรือให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา หรือเหตุอื่นที่ศาลเห็นว่ามีลักษณะทำนองเดียวกัน

    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326    มาตรา ๓๒๖
        ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328    มาตรา ๓๒๘
        ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท


    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 238 / 2524
    โจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์เห็นใจและให้อภัยจำเลยแล้ว ไม่ติดใจเอาโทษจำเลยต่อไป คำแถลงดังกล่าวเป็นการแถลงขอให้ศาลปรานีจำเลย เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษเท่านั้น มิใช่เป็นการยอมความ สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องไม่ระงับ
    คดีที่จำเลยฎีกาได้เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจใช้ดุลพินิจลดโทษจำเลยให้เบาลงได้

    คำพิพากษาย่อยาว

    โจทก์ฟ้องว่า จำเลยใส่ความโจทก์ต่อบุคคลอื่นว่าเงินที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกู้ยืมไปนั้น เป็นเงินที่โจทก์มอบให้จำเลยเพื่อตอบแทนการที่จำเลยให้ความสุขแก่โจทก์ในทางเพศ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326, 328
    ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว คดีมีมูลให้ประทับฟ้อง
    จำเลยให้การรับสารภาพ
    ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 328, 78 จำคุก 3 เดือน
    จำเลยอุธรณ์ขอให้รอการลงโทษ
    ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำคุก 2 เดือน ปรับ 500 บาทให้รอการลงโทษจำคุกไว้ 2 ปี
    จำเลยฎีกาว่า โจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลอุทธรณ์มีใจความว่า เห็นใจและให้อภัยจำเลยแล้ว ไม่ติดใจเอาโทษจำเลยต่อไป ถือได้ว่ามีการยอมความแล้วสิทธิในการฟ้องคดีเป็นอันระงับไป ขอให้จำหน่ายคดี แต่ถ้าจำหน่ายคดีไม่ได้ก็ขอให้ยกโทษจำคุก
    ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลอุทธรณ์ว่า โจทก์เห็นใจและให้อภัยจำเลยแล้ว ไม่ติดใจเอาโทษจำเลยต่อไป คำแถลงดังกล่าวเป็นการแถลงขอให้ศาลปรานีจำเลย เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษเท่านั้น มิใช่เป็นการยอมความ สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องไม่ระงับ
    ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ยกโทษจำคุกนั้น เห็นว่าจำเลยไม่เคยกระทำผิดมาก่อนทั้งเมื่อกระทำความผิดคดีนี้แล้ว จำเลยได้ขอขมาโจทก์หลายครั้ง โจทก์ไม่ติดใจเอาโทษจำเลยคดีมีเหตุสมควรปรานีจำเลย
    พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกโทษจำคุก คงปรับแต่อย่างเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 55 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
    ผู้พิพากษา
    ธาดา วัชรานันท์
    กุศล บุญยืน
    บรรเทอง ภู่กฤษณา


    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

แสดงความคิดเห็น

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]
    วันที่เพิ่ม : วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 03:04:34
    ปรับปรุงล่าสุด : วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 18:05:23


    สื่อออนไลน์ต่างๆ ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก บางท่านใช้งานอย่างสนุกสนายจนลืมไปว่า มีกฎหมายคุ้มครองการใช้งานอยู่หลายประการ สิ่งพื้นฐานที่ทุกคนควรรู้ และ สำนึกในความรับผิดชอบและใช้งานอย่างมีขอบเขต

      กฎหมายที่เกี่ยวข้องมากที่สุดคือ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ,มาตรา 328 และ มาตรา 393

    แต่หากผู้เสียหายไปแจ้งความกล่าวหาโดยมีเจตนาการกลั่นแกล้งแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ก็อาจจะถูกดำเนินคดีกลับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 ได้เช่นกัน


    ประมวลกฎหมายอาญา-มาตรา-328




    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

บันทึกส่วนตัว

Visitor Statistics
» 4 Online
» 11 Today
» 124 Yesterday
» 896 Week
» 4503 Month
» 201435 Year
» 1452840 Total
Record: 10208 (10.06.2023)
Free PHP counter