มาตรา ๓๓๕
ผู้ใดลักทรัพย์
(๑) ในเวลากลางคืน
(๒) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
(๓) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(๔) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(๕) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(๖) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(๗) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(๘) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(๙) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ หรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ
(๑๐) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(๑๑) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(๑๒) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไปผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ก็ได้
* มาตรา ๓๓๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ.๒๕๖๐ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๖๙ วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐)
-
นาวิน ขำแป้น
[ทนายความ]
วันที่เพิ่ม : วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 00:25:50
ปรับปรุงล่าสุด : วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 00:25:50
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 มาตรา ๓๓๔
ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาทประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 มาตรา ๓๓๕
ผู้ใดลักทรัพย์
(๑) ในเวลากลางคืน
(๒) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
(๓) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(๔) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(๕) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(๖) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(๗) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(๘) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(๙) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ หรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ
(๑๐) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(๑๑) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(๑๒) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไปผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ก็ได้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 มาตรา ๓๕๗
ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอกหรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำเพื่อค้ากำไรหรือได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๕ (๑๐) ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำต่อทรัพย์ อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๕ ทวิ การชิงทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๙ ทวิ หรือการปล้นทรัพย์ตามมาตรา ๓๔๐ ทวิ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 22725 / 255522725 - 22726/2555
วันเวลากระทำความผิดในสำนวนคดีแรกและในสำนวนคดีที่สองที่โจทก์บรรยายฟ้องทั้งในความผิดฐานลักทรัพย์และความผิดฐานรับของโจรนั้นต่างกัน โจทก์จะฟ้องรวมกันมาเป็นคดีเดียวกันหรือจะแยกฟ้องเป็นคนละคดีก็ได้ การที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยในสำนวนคดีแรกและสำนวนคดีที่สองคนละคดีเป็นรายกระทงความผิดจึงกระทำได้ ประกอบกับวันที่จำเลยถูกจับกุมมิใช่วันกระทำความผิด และทรัพย์ที่ยึดได้ก็เป็นทรัพย์ของผู้เสียหายคนละคนต่างรายการกัน มิใช่ทรัพย์ของผู้เสียหายคนเดียวกัน นอกจากนี้เจ้าพนักงานตำรวจก็ตรวจค้นพบทรัพย์ของกลางที่บ้านพวกของจำเลยและที่ห้องพักของจำเลยคนละวันกัน แสดงว่าทรัพย์ของกลางที่ถูกตรวจค้นพบทั้งสองครั้งจำเลยมิได้รับไว้ในคราวเดียวกัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดวันเดียวกัน คำฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานรับของโจรจึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระคนละกระทงความผิดกัน
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจร เป็นการฟ้องให้ศาลเลือกลงโทษจำเลยในข้อหาใดข้อหาหนึ่งตามที่พิจารณาได้ความ ศาลไม่อาจลงโทษจำเลยพร้อมกันทั้งสองข้อหาได้ เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจร จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว เพียงแต่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ส่วนศาลอุทธรณ์เห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ดังนั้นแม้โจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานรับของโจร ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานรับของโจรได้ตามที่โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงดังกล่าวมาในฟ้องแล้ว
กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!
-
นาวิน ขำแป้น
[ทนายความ]
วันที่เพิ่ม : วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 03:08:55
ปรับปรุงล่าสุด : วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 03:08:55
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาตรา ๙๑
เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนด ดังต่อไปนี้
(๑) สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี
(๒) ยี่สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี
(๓) ห้าสิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิตประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 มาตรา ๓๓๔
ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาทประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 มาตรา ๓๓๕
ผู้ใดลักทรัพย์
(๑) ในเวลากลางคืน
(๒) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
(๓) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(๔) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(๕) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(๖) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(๗) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(๘) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(๙) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ หรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ
(๑๐) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(๑๑) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(๑๒) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไปผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ก็ได้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ มาตรา ๓๓๖ ทวิ
ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา ๓๓๔ มาตรา ๓๓๕ มาตรา ๓๓๕ ทวิ หรือมาตรา ๓๓๖ โดยแต่งเครื่องแบบทหารหรือตำรวจหรือแต่งกายให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำรวจหรือโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 2698 / 25541. จำเลยเป็นพนักงานขายสินค้าของบริษัท อ. จำกัด ซึ่งเป็นผู้เสียหาย เมื่อวันที่ 5 และวันที่ 19 มีนาคม 2546 จำเลยอ้างต่อ จ. ผู้จัดการฝ่ายขายของผู้เสียหายว่า ร้าน ร. สั่งซื้อสินค้าของผู้เสียหายตามในเสนอราคาและต้องการสินค้าด่วน จำเลยขอรับสินค้าไปส่งเอง ผู้เสียหายจึงมอบสินค้าดังกล่าวแก่จำเลยเพื่อนำไปส่งให้แก่ร้าน ร. โดยจำเลยใช้รถยนต์กระบะของจำเลยมาบรรทุกสินค้าไป ความจริงแล้วร้าน ร. ไม่ได้สั่งซื้อสินค้าตามที่จำเลยอ้างและจำเลยไม่ได้นำสินค้าดังกล่าวไปส่งให้แก่ร้านดังกล่าวและไม่ปรากฏว่าจำเลยนำสินค้าดังกล่าวไปส่งให้แก่ลูกค้าของผู้เสียหายที่ไหน อัยการโจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 91, 334, 335, 336ทวิ
2. จำเลยให้การปฏิเสธ
3. ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335(11) วรรคแรก ประกอบมาตรา 336 ทวิ เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 จำเลยอุทธรณ์ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
4. คดีขึ้นสู่ศาลฎีกา ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานขายสินค้าของผู้เสียหายอ้างว่า ร้าน ร. สั่งซื้อสินค้าและต้องการด่วน จำเลยขอรับสินค้าไปส่งเองทั้งที่ความจริงร้าน ร. ไม่ได้สั่งซื้อ จำเลยไม่ได้นำสินค้าดังกล่าวไปส่งให้และไม่ปรากฏว่าจำเลยไปขายสินค้าดังกล่าวให้แก่ใคร สินค้าดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อจำเลยประสงค์ต่อผลเอาสินค้าดังกล่าวของผู้เสียหายไปตั้งแต่แรกแสดงว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นอันเป็นการแย่งกรรมสิทธิ์ทรัพย์ของผู้เสียหาย ซึ่งผู้เสียหายไม่ได้อนุญาตให้จำเลยกระทำการดังกล่าวได้ แล้วจำเลยพาทรัพย์เคลื่อนที่ไปจึงเป็นการกระทำโดยเจตนาทุจริตเพื่อให้ได้ทรัพย์ของผู้เสียหายดังกล่าวไป การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
คดีนี้ จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง ตาม ป.อ. มาตรา 335(11) ประกอบมาตรา 336 ทวิ (ลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ) และเป็นความผิดหลายกรรมเนื่องจากจำเลยกระทำผิดกรรมแรกเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2546 และอีกกรรมหนึ่งวันที่ 19 มีนาคม 2546
กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!
-
นาวิน ขำแป้น
[ทนายความ]
วันที่เพิ่ม : วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 03:16:15
ปรับปรุงล่าสุด : วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 03:16:15
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 มาตรา ๓๓๕
ผู้ใดลักทรัพย์
(๑) ในเวลากลางคืน
(๒) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
(๓) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(๔) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(๕) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(๖) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(๗) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(๘) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(๙) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ หรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ
(๑๐) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(๑๑) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(๑๒) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไปผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ก็ได้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 มาตรา ๓๔๑
ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 394 / 2553การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์จะต้องเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยพลการโดยทุจริต มิใช่ได้ทรัพย์ไปเพราะผู้อื่นยินยอมมอบให้เนื่องจากถูกหลอกลวง จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วมมีหน้าที่เบิกจ่ายเงินของโจทก์ร่วมให้กับลูกค้าของโจทก์ร่วมได้ใช้โอกาสในหน้าที่ดังกล่าวจัดทำใบเบิกจ่ายล่วงหน้าระบุว่ามีค่าใช้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย ค่าผ่านท่าและค่ารถยก อันเป็นข้อความเท็จ หลอกลวงโจทก์ร่วมจนโจทก์ร่วมหลงเชื่อยินยอมมอบเงินค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้จำเลยไปจำนวน 353 ครั้ง จึงมิใช่การเอาเงินของโจทก์ร่วมไปโดยพลการโดยทุจริตอันจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างตาม ป.อ. มาตรา 335(11) หากแต่เป็นการหลอกลวงพนักงานและกรรมการของโจทก์ร่วมด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จในใบเบิกเงินทดรองจ่ายว่าต้องนำเงินไปชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าว การอนุมัติให้จำเลยเบิกเงินไปเกิดจากการที่พนักงานและกรรมการของโจทก์ร่วมหลงเชื่อข้อความในเอกสาร จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ตาม ป.อ. มาตรา 341 แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!
-
นาวิน ขำแป้น
[ทนายความ]
วันที่เพิ่ม : วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 03:31:37
ปรับปรุงล่าสุด : วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 03:31:37
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 มาตรา ๓๓๕
ผู้ใดลักทรัพย์
(๑) ในเวลากลางคืน
(๒) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
(๓) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(๔) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(๕) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(๖) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(๗) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(๘) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(๙) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ หรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ
(๑๐) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(๑๑) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(๑๒) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไปผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 4345 / 2545จำเลยเป็นลูกจ้างธนาคารโจทก์ร่วมในตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าส่วน มีหน้าที่ควบคุมดูแลงานด้านกู้เงินระยะสั้นโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินรวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้อาศัยโอกาสในหน้าที่ของจำเลยทำเอกสารใบถอนเงินของโจทก์ร่วมระบุโอนเงินเข้าบัญชีลูกค้าอันเป็นเท็จ และโอนเงินของโจทก์ร่วมเข้าบัญชีของ ส. พวกของจำเลย หลังจากนั้นก็ร่วมกับพวกเบิกถอนเงินดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ของตนกับพวก ซึ่งการที่เจ้าหน้าที่ของโจทก์ร่วมยอมให้มีการโอนเงินไปตามเอกสารใบถอนเงินที่จำเลยทำขึ้นนั้น มิได้ขึ้นอยู่กับข้อความในเอกสารว่าเป็นจริงหรือเท็จ แต่เป็นการโอนเงินไปเพราะเอกสารใบถอนเงินที่จำเลยได้รับมอบอำนาจให้กระทำมีรายการครบถ้วนและมีลายมือชื่อกับรหัสประจำตัวของจำเลยซึ่งหากจำเลยไม่กระทำด้วยวิธีการดังกล่าว ย่อมไม่อาจเอาเงินออกไปจากบัญชีของโจทก์ร่วมได้ ดังนั้น การที่อนุมัติให้โอนเงินออกไปจากบัญชีของโจทก์ร่วมจึงมิได้เกิดจากการที่จำเลยหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความในเอกสารอันเป็นเท็จและโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินของโจทก์ร่วม แต่เป็นกรณีที่จำเลยทำเอกสารใบถอนเงินโดยมีข้อความอันเป็นเท็จแล้วเสนอไปตามขั้นตอนเพื่อให้มีการอนุมัติโอนเงินตามเอกสารนั้น อันเป็นเพียงวิธีการที่จะทำให้จำเลยเอาเงินของโจทก์ร่วมออกไปจากบัญชีของโจทก์ร่วมโดยทุจริตได้ การกระทำของจำเลยจึงมิใช่ความผิดฐานฉ้อโกง แต่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้าง
กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!
-
นาวิน ขำแป้น
[ทนายความ]
วันที่เพิ่ม : วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เวลา 20:43:42
ปรับปรุงล่าสุด : วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 00:00:35
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 มาตรา ๓๓๕
ผู้ใดลักทรัพย์
(๑) ในเวลากลางคืน
(๒) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
(๓) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(๔) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(๕) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(๖) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(๗) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(๘) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(๙) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ หรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ
(๑๐) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(๑๑) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(๑๒) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไปผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 393 / 2509 (ประชุมใหญ่)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2509)
เล้าไก่ทำแยกต่างหากจากตัวเรือนห่างออกไปประมาณ 1 เมตรแม้จะมิไช่ที่คนอยู่อาศัยแต่ก็อยู่ในที่ดินอันเป็นบริเวณของโรงเรือนที่มีรั้วด้วย มิไช่อยู่ในบริเวณต่างหากจากตัวเรือนซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนถือว่าเป็น เคหสถาน
คำพิพากษาย่อสั้น
เล้าไก่ไม่ใช่ที่ซึ่งคนอยู่อาศัยก็จริงแต่อยู่ห่างจากเรือนผู้เสียหายประมาณ 1 เมตร แม้แยกออกไปต่างหากจากตัวเรือนแล้ว ก็ยังอยู่ในที่ดินอันเป็นบริเวณของโรงเรือนซึ่งมีรั้วอยู่ด้วย มิใช่อยู่ในที่ซึ่งเป็นบริเวณต่างหากจากโรงเรือนซึ่งใช้เป็นที่คนอยู่อาศัยจำเลยลักไก่ในเล้าซึ่งอยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัย จึงเป็นการลักทรัพย์ในเคหสถานที่จำเลยได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดมาตรา 335(8) ด้วย
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า เวลากลางคืนจำเลยมีมีดเป็นอาวุธพกติดตัวเข้าทำการลักไก่ 2 ตัว ราคา 24 บาท ในบ้านซึ่งเป็นเคหสถานของพันจ่าอากาศโทสมัย รัฐอาจ โดยไม่ได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(7)(8) กับให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยผิดมาตรา 335(1)(8) จำคุก 1 ปี6 เดือน ให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์
จำเลยอุทธรณ์ว่าเล้าไก่อยู่ข้างบ้าน ไม่ใช่เคหสถาน ขอให้ลงโทษสถานเบา
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า เล้าไก่ไม่ใช่เคหสถาน พิพากษาแก้ว่าจำเลยผิดมาตรา 335(1) จำคุก 1 ปี นอกนั้นยืน
โจทก์ฎีกาข้อกฎหมายว่า เล้าแก่อยู่ในเขตบ้านมีรั้วล้อมรอบและเล้าไก่อยู่ห่างจากตัวบ้านเพียง 1 เมตร เล้าไก่นั้นอยู่ในบริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย จึงเป็นเคหสถาน
ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่เห็นว่า ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าไก่ที่จำเลยลักไปอยู่ในเล้าห่างบ้านประมาณ 1 เมตร คือ อยู่ห่างโรงเรือนแต่ภายในเขตรั้วบ้าน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(4) บัญญัติว่า “เคหสถาน หมายความว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยเช่น เรือน โรงเรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และให้หมายความรวมถึงบริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย จะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม” วินิจฉัยว่า เล้าไก่ไม่ใช่ที่ซึ่งคนอยู่อาศัยก็จริง แต่ก็อยู่ห่างจากตัวเรือนผู้เสียหายประมาณ 1 เมตร แม้จะแยกออกไปต่างหากจากตัวเรือน ก็ยังอยู่ในที่ดินอันเป็นบริเวณของโรงเรือนซึ่งในคดีนี้มีรั้วอยู่ด้วย มิใช่อยู่ในที่ซึ่งเป็นบริเวณต่างหากจากโรงเรือนซึ่งใช้เป็นที่คนอยู่อาศัย จำเลยลักไก่ในเล้าซึ่งอยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัย จึงเป็นการลักทรัพย์ในเคหสถานที่จำเลยได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามมาตรา 335(8) อีกข้อหนึ่งพิพากษาแก้ให้ลงโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นทุกประการ
ผู้พิพากษา
จิตติ ติงศภัทิย์
เพรียง โรจนรัส
สุทิน เกษคุปต์
กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!
-
นาวิน ขำแป้น
[ทนายความ]
วันที่เพิ่ม : วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 21:22:44
ปรับปรุงล่าสุด : วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 21:22:44
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 มาตรา ๕๙
บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิด แม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา
กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดจะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้
กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 มาตรา ๒๖๔
ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่นนั้น ถ้าได้กระทำเพื่อนำเอาเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน ให้ถือว่าผู้นั้นปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษเช่นเดียวกันประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 มาตรา ๒๖๕
ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ หรือเอกสารราชการ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 มาตรา ๓๓๔
ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาทประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 มาตรา ๓๓๕
ผู้ใดลักทรัพย์
(๑) ในเวลากลางคืน
(๒) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
(๓) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(๔) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(๕) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(๖) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(๗) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(๘) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(๙) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ หรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ
(๑๐) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(๑๑) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(๑๒) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไปผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 2022 / 2531จำเลยเป็นลูกจ้างของห้างโจทก์เมื่อรับเช็คที่บุคคลภายนอกจ่ายให้โจทก์ จำเลยต้องนำไปมอบให้หุ้นส่วนผู้จัดการห้างโจทก์ แต่จำเลยกลับนำเช็คนั้นไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารโดยจำเลยลงลายมือชื่อของจำเลยและประทับตราสำคัญของห้างโจทก์ ดังนี้แม้จะเป็นการลงลายมือชื่อของจำเลยเอง แต่ก็เป็นการกระทำเพื่อลวงให้ธนาคารหลงเชื่อว่าเป็นการลงลายมือชื่อโดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ.
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 265,334, 335
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 คำขออื่นให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ ให้ยกฟ้องข้อหาปลอมเอกสารตามมาตรา 264,265 ด้วย
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ประมูลการจ้างเหมาก่อสร้างสะพานจากกรมชลประทานได้แล้ว นำไปจ้างผู้อื่นรับเหมาช่วงจำเลยเป็นเพียงลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่ติดต่อและลงนามในสัญญากับหน่วยราชการและเอกชนที่โจทก์รับเหมาก่อสร้างเท่านั้น จำเลยรับเงินค่าก่อสร้างจากกรมชลประทานมาแล้ว 3 งวดรวมเป็นเงินประมาณ 5,000,000 บาทก็ได้นำมาให้นางแตงกวาซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ทุกงวด ซึ่งการรับเงินดังกล่าวกรมชลประทานได้สั่งจ่ายเงินเป็นเช็คของธนาคารแห่งประเทศไทยเช่นดังที่สั่งจ่ายเงินค่าก่อสร้างงวดที่ 4 ตามเช็คเอกสารหมาย จ.2 ฉะนั้นแม้จำเลยจะมีอำนาจรับเงินหรือเช็คจากกรมชลประทานแทนโจทก์ได้ดังกล่าวแต่จำเลยก็ไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อจำเลยในเช็คตามเอกสารหมาย จ.2 ได้ จำเลยต้องนำเช็คดังกล่าวมาให้นางแตงกวาซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการลงชื่อและประทับตราห้างโจทก์เพื่อนำไปเบิกเงินจากธนาคารผู้จ่ายดังเช่นที่ได้ปฏิบัติมาใน 3 งวดแรก การที่จำเลยไม่นำเช็คดังกล่าวมามอบให้นางแตงกวาแต่กลับนำไปลงลายมือชื่อจำเลยสองชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ไว้ด้านหลังเช็คแล้วนำไปเข้าบัญชีของนายงามนั้นเป็นการทุจริต แม้จำเลยจะลงลายมือชื่อของจำเลยเองแล้วประทับตราของห้างโจทก์ แต่ก็เป็นการกระทำเพื่อลวงให้ผู้อื่น คือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาอโศกดินแดง และธนาคารแห่งประเทศไทยหลงเชื่อว่าเป็นการลงชื่อสลักหลังเช็คโดยผู้มีอำนาจทำแทนห้างโจทก์ ทั้งจำเลยมิได้เป็นผู้แทนหรือตัวแทนของห้างโจทก์ไม่มีอำนาจลงชื่อเช่นนี้จนมีการเรียกเก็บเงินตามเช็คนี้ได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265.
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265
ผู้พิพากษา
ประชา บุญวนิช
ดุสิต วราโห
คำนึง อุไรรัตน์
กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!
-
นาวิน ขำแป้น
[ทนายความ]
วันที่เพิ่ม : วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:02:25
ปรับปรุงล่าสุด : วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:02:25
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 มาตรา ๓๓๕
ผู้ใดลักทรัพย์
(๑) ในเวลากลางคืน
(๒) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
(๓) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(๔) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(๕) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(๖) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(๗) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(๘) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(๙) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ หรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ
(๑๐) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(๑๑) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(๑๒) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไปผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 10369 / 2559จำเลยขายสินค้าของผู้เสียหายได้รับเงินค่าสินค้ามา แทนที่จำเลยจะรวบรวมนำส่งเงินไปฝากธนาคาร แต่จำเลยนำเงินนั้นไปเป็นของจำเลยแล้วใช้วิธีการเปลี่ยนแปลงรายการสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้ยอดสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์ตรงกับจำนวนเงินที่ผู้เสียหายควรได้รับมาจากการจำหน่าย #อันเป็นวิธีการที่ผู้เสียหายจะไม่ทราบว่าจำเลยไม่ได้นำส่งเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้เสียหาย ต่อเมื่อตรวจสอบสต๊อกสินค้าแล้วจึงจะทราบว่าจำนวนสินค้าไม่ตรงกับจำนวนเงินที่มีการจำหน่าย ดังนี้เงินที่จำเลยรับมาจากลูกค้าซึ่งได้จากการจำหน่ายสินค้า เป็นการรับเงินไว้ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะของลูกจ้างของผู้เสียหาย เพียงแต่ให้จำเลยยึดถือไว้ชั่วคราวอำนาจในการครอบครองควบคุมดูแลทรัพย์สินยังเป็นของนายจ้างผู้เสียหายไม่ได้ส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยเอาเงินของผู้เสียหายไป #จึงเป็นการเอาเงินไปโดยเจตนาทุจริตเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ของผู้เสียหายที่เป็นนายจ้างตาม ป.อ. มาตรา 335(11) วรรคแรก มิใช่ความผิดฐานยักยอก
กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!
-
นาวิน ขำแป้น
[ทนายความ]
วันที่เพิ่ม : วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 01:25:46
ปรับปรุงล่าสุด : วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 01:38:27
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 มาตรา ๓๒
ทรัพย์สินใดที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิด และมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 มาตรา ๗๘
เมื่อปรากฏว่ามีเหตุบรรเทาโทษ ไม่ว่าจะได้มีการเพิ่มหรือการลดโทษตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นแล้วหรือไม่ ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นก็ได้
เหตุบรรเทาโทษนั้น ได้แก่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญาตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีคุณความดีมาแต่ก่อน รู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น ลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานหรือให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา หรือเหตุอื่นที่ศาลเห็นว่ามีลักษณะทำนองเดียวกันประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 มาตรา ๘๐
ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทำความผิด
ผู้ใดพยายามกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 มาตรา ๘๓
ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาตรา ๙๑
เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนด ดังต่อไปนี้
(๑) สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี
(๒) ยี่สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี
(๓) ห้าสิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิตประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 มาตรา ๒๙๕
ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 มาตรา ๓๓๕
ผู้ใดลักทรัพย์
(๑) ในเวลากลางคืน
(๒) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
(๓) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(๔) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(๕) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(๖) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(๗) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(๘) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(๙) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ หรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ
(๑๐) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(๑๑) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(๑๒) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไปผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ก็ได้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 มาตรา ๓๔๐
ผู้ใดชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าในการปล้นทรัพย์ผู้กระทำแม้แต่คนหนึ่งคนใด มีอาวุธติดตัวไปด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบสองปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนสี่หมื่นบาทถึงสี่แสนบาท
ถ้าการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
ถ้าการปล้นทรัพย์ได้กระทำโดยแสดงความทารุณจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ใช้ปืนยิง ใช้วัตถุระเบิด หรือกระทำทรมาน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
ถ้าการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิตประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี มาตรา ๓๔๐ ตรี
ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา ๓๓๙ มาตรา ๓๓๙ ทวิ มาตรา ๓๔๐ หรือมาตรา ๓๔๐ ทวิ โดยแต่งเครื่องแบบทหารหรือตำรวจหรือแต่งกายให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำรวจหรือโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 มาตรา ๓๗๑
ผู้ใดพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผย หรือโดยไม่มีเหตุสมควร หรือพาไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริงหรือการอื่นใด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท และให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 375 / 2533คำพิพากษาย่อสั้น
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 กับพวกอีก 2 คนเข้าไปในบ้านและพยายามลักทรัพย์ของผู้เสียหาย แล้วพวกของจำเลยดังกล่าวได้ใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายแก่กายเพื่อสะดวกในการลักทรัพย์ หรือพาทรัพย์ไปแต่ไม่สามารถพาทรัพย์นั้นไปได้ เพราะมีผู้มาพบเห็นเสียก่อน ดังนี้การที่พวกของจำเลยที่ 1 ใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายดังกล่าว จึงมิได้นอกเหนือความมุ่งหมายหรือเจตนาของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกจึงเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคแรก 80.
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340,340 ตรี, 295, 371, 83, 91, 32 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2526 มาตรา 4 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2514 ข้อ 14, 15พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม2519 ข้อ 3, 6, 7 และสั่งริบกระสุนปืนของกลาง
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1) (7) (8), 83, 80 จำคุก 3 ปี จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 2 ปีข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยกริบกระสุนปืนของกลาง ยกฟ้องจำเลยที่ 2
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 80 จำคุก 8 ปีจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาเป็นเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสาม ตามมาตรา 78 คงจำคุก 5 ปี 4 เดือน นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังตามที่โจทก์นำสืบได้ว่า วันเกิดเหตุ นางหนูแดงภรรยาของผู้เสียหายยืนอยู่ชั้นบนมองลงไปเห็นจำเลยที่ 1 ยืนอยู่ที่ประตูเข้าบ้าน เมื่อลงมาชั้นล่างเห็นคนร้ายอีก 2 คน และเห็นผู้เสียหายมีบาดแผลที่ใบหน้า คนร้าย 2 คน จะเอาเครื่องวีดีโอเพราะมีผ้าขาวม้าสอดอยู่ข้างใต้ นางหนูแดงร้องขอความช่วยเหลือ จำเลยที่ 1กับคนร้ายอีก 2 คน วิ่งหนีภายหลังเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่ 1ได้ที่ตึกสร้างใหม่ จำเลยที่ 1 รับว่าร่วมกับพวกปล้นทรัพย์บ้านผู้เสียหายและได้พาเจ้าพนักงานตำรวจไปจับจำเลยที่ 2 ได้ที่จังหวัดราชบุรี จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ มีปัญหาตามที่จำเลยที่ 1ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ร่วมทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์จริงหรือไม่โจทก์มีพยาน คือ ร้อยตำรวจตรีสมบูรณ์ สมทรง ผู้จับกุมจำเลยที่ 1เบิกความว่า เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2530 เวลา 1.30 นาฬิกา พยานกับพวกได้ออกตรวจท้องที่ เมื่อไปถึงปากซอย 10 หมู่บ้านเศรษฐกิจได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่า มีเสียงร้องขอความช่วยเหลือจากบ้านเลขที่56 พยานกับพวกได้ไปที่บ้านดังกล่าวพบผู้เสียหายอยู่ในอาการตกใจและมีบาดแผลที่ใบหน้า สอบถามได้ความว่ามีคนร้าย 3 คน เข้าไปในบ้านเพื่อจะเอาเครื่องวีดีโอผู้เสียหายต่อสู้ คนร้ายหลบหนีไปได้สอบถามชาวบ้านแล้วทราบว่าคนร้ายหนีไปอยู่ในตึกสร้างใหม่บริเวณปากซอย พยานกับพวกตามไปจับจำเลยที่ 1 ได้ เมื่อแจ้งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพดังนี้จะเห็นได้ว่าร้อยตำรวจตรีสมบูรณ์เบิกความสอดคล้องกับคำเบิกความของนางหนูแดงภรรยาผู้เสียหาย เพราะนางหนูแดงเมื่อได้ยินเสียงผู้เสียหายร้องจึงลุกขึ้นและเปิดหน้าต่างมองลงไปเห็นจำเลยที่ 1ยืนอยู่ที่หน้าประตูบ้าน เพราะมีแสงไฟนีออนติดอยู่ที่รั้วบ้านห่างจากประตูบ้านประมาณ 3-4 เมตร ปรากฏตามแผนที่สังเขปแสดงบริเวณที่เกิดเหตุแม้นางหนูแดงเบิกความตอบคำถามค้านว่า จำเลยที่ 1 นั่งบังรถกระบะที่จอดอยู่ และไฟประตูรั้วไม่สว่างนัก แต่นางหนูแดงยืนยันว่าเห็นและจำได้แน่ว่าเป็นจำเลยที่ 1 เพราะนางหนูแดงเคยรู้จักจำเลยที่ 1 มาก่อนเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 เคยเป็นลูกจ้างของบุตรชายของตนมาประมาณ 5 เดือน ได้ออกไปก่อนเกิดเหตุประมาณ 2 ปีเมื่อเกิดเหตุแล้วร้อยตำรวจตรีสมบูรณ์จับจำเลยที่ 1 ได้หลังเกิดเหตุเล็กน้อยในขณะที่จำเลยที่ 1 ซ่อนตัวอยู่ในตึกสร้างใหม่บริเวณปากซอย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กับพวกเข้ามาในบ้านผู้เสียหายเพื่อลักเครื่องวีดีโอ เมื่อนางหนูแดงร้องขึ้น จำเลยที่ 1กับพวกหลบหนี ส่วนที่จำเลยที่ 1 นำสืบว่าไม่ได้เข้าไปในบ้านผู้เสียหายนั้น ไม่น่าเชื่อ เพราะนางหนูแดงรู้จักจำเลยที่ 1 มาก่อนร้อยตำรวจตรีสมบูรณ์ผู้จับจำเลยที่ 1 ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยที่ 1 มาก่อน จึงไม่มีเหตุที่จะแกล้งเบิกความปรักปรำจำเลยที่ 1 เพื่อให้ได้รับโทษ ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ผู้เสียหายป่วยเป็นโรคประสาท พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง และความจำเสื่อม จึงไม่น่าเชื่อว่าผู้เสียหายจะจำได้นั้น เห็นว่า แม้ผู้เสียหายจะเบิกความไม่รู้เรื่องบ้างก็ตาม แต่ผู้เสียหายยืนยันว่าถูกคนร้ายทำร้ายได้รับบาดเจ็บซึ่งตรงกับที่นางหนูแดงเบิกความว่า เมื่อลงมาเห็นผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บที่ใบหน้าและเห็นคนร้าย 2 คนอยู่ในห้องเดียวกับผู้เสียหาย เมื่อนางหนูแดงร้องขอความช่วยเหลือคนร้าย 2 คน และจำเลยที่ 1 จึงหนีไปด้วยกันจึงเชื่อได้ว่าคนร้าย 2 คนนั้นได้ทำร้ายผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บ ปรากฏตามรายงานการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ท้ายฟ้องที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1) (7) (8), 83, 80 เท่านั้น เห็นว่าเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กับคนร้ายอีก 2 คน มีเจตนาเข้าไปในบ้านและพยายามลักทรัพย์ของผู้เสียหายไปนั้น คนร้ายที่เข้าไปในบ้านได้ใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายแก่กายก็เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือพาทรัพย์นั้นไป แต่ไม่สามารถพาทรัพย์นั้นไปได้เพราะมีผู้มาพบเห็นเสียก่อน ดังนั้นการที่พวกของจำเลยที่ 1 ใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายเพื่อจะลักทรัพย์ไปนั้นไม่อยู่นอกเหนือความมุ่งหมายหรือเจตนาของจำเลยที่ 1แต่อย่างไร การกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวก จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคแรก, 80..."
พิพากษายืน
ผู้พิพากษา
อุไร คังคะเกตุ
ประวิทย์ ขัมภรัตน์
สุวิทย์ ธีรพงษ์
กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!
-
นาวิน ขำแป้น
[ทนายความ]
วันที่เพิ่ม : วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 02:42:39
ปรับปรุงล่าสุด : วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 02:42:39
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 มาตรา ๘๓
ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 มาตรา ๓๓๕
ผู้ใดลักทรัพย์
(๑) ในเวลากลางคืน
(๒) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
(๓) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(๔) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(๕) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(๖) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(๗) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(๘) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(๙) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ หรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ
(๑๐) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(๑๑) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(๑๒) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไปผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ก็ได้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 มาตรา ๓๕๗
ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอกหรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำเพื่อค้ากำไรหรือได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๕ (๑๐) ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำต่อทรัพย์ อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๕ ทวิ การชิงทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๙ ทวิ หรือการปล้นทรัพย์ตามมาตรา ๓๔๐ ทวิ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 229 / 2510 (ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาย่อสั้น
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างรายวันของเทศบาลนครกรุงเทพ มีหน้าที่ขับรถยนต์ของเทศบาลฯ บรรทุกคนงานไปทำการล้างท่อและซ่อมท่อระบายน้ำ จำเลยที่ 2 เป็นคนล้างท่อและซ่อมท่อจำเลยมีหน้าที่เพียงดูแลรักษารถยนต์และน้ำมันเท่านั้น เทศบาลมิได้มอบการครอบครองรถยนต์และน้ำมันให้จำเลยครอบครองแต่อย่างใดฉะนั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ครอบครองรถยนต์และน้ำมันเบนซินในถังของรถยนต์นั้น เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ร่วมกันดูดเอาน้ำมันเบนซินไปจากถังรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ แล้วนำเอาน้ำมันนั้นไปขายให้จำเลยที่ 3 ดังนี้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7)(11) จำเลยที่ 3 รับไว้โดยรู้ ก็ต้องมีความผิดฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2510)
คำพิพากษาย่อยาว
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวันของเทศบาลนครกรุงเทพ จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ขับรถยนต์ของเทศบาลนครกรุงเทพ บรรทุกคนงานล้างท่อระบายน้ำ จำเลยที่ 2 เป็นคนงานล้างท่อและซ่อมท่อระบายน้ำ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2507 จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้บังอาจลักน้ำมันเบนซินจำนวน 2 กระป๋องราคา 11.50 บาท โดยใช้สายปลาสติกดูดลักเอาไปจากถังน้ำมันรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับ และตามวันเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 3 ได้บังอาจรับเอาน้ำมันเบนซิน 2 กระป๋องนั้นโดยรู้อยู่ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7)(11), 83, 357 กับขอให้สั่งคืนของกลางแก่ผู้เสียหายและขอให้ริบท่อปลาสติกของกลาง
จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธตลอดข้อหา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างรายวันของเทศบาลนครกรุงเทพมีหน้าที่ขับรถยนต์บรรทุกรับส่งคนงานไปทำการล้างท่อเมื่อจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ขับรถยนต์ก็เห็นได้ในตัวว่าจำเลยมีหน้าที่ดูแลรักษารถยนต์ตลอดถึงน้ำมันรถยนต์ด้วย เพราะอยู่ในหน้าที่ความครอบครองของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 บังอาจร่วมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างรายวันเช่นเดียวกันดูดเอาน้ำมันรถยนต์ไปโดยทุจริตเช่นนี้ การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดฐานยักยอก หาใช่ความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ และการที่จำเลยที่ 3 รับซื้อไว้ก็หาใช่โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ดังที่โจทก์บรรยายฟ้องไม่ เพราะเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการยักยอกข้อเท็จจริงที่ได้ความตามทางพิจารณาจึงต่างกับฟ้อง พิพากษายกฟ้องคืนของกลางให้แก่ผู้เสียหาย ริบสายปลาสติกของกลาง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกาว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นผิดฐานลักทรัพย์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามฟ้อง
ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับศาลชั้นต้น และโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่าการที่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ขับรถยนต์ จำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถยนต์ตลอดถึงน้ำมันเบนซินในรถยนต์ด้วยตามนัยฎีกาที่ 1092/2505 ก็จริงอยู่แต่จำเลยก็มีหน้าที่เพียงดูแลรักษาเท่านั้น เทศบาลนครกรุงเทพมิได้มอบการครอบครองรถยนต์และน้ำมันเบนซินในรถยนต์ให้จำเลยครอบครองแต่อย่างใด ฉะนั้นกรณีนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ครอบครองรถยนต์และน้ำมันเบนซินในรถยนต์นั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ผิดฐานยักยอก ส่วนจำเลยที่ 3 ศาลฎีกาเชื่อว่าจำเลยที่ 3 รู้ว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ลักเอาน้ำมันของเทศบาลนครกรุงเทพไปขายให้จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงมีความผิดฐานรับของโจร พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นว่า นายสมควรจำเลยที่ 1 และนายชมจำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7) และ (11)ให้จำคุกคนละ 1 ปี จำเลยที่ 3 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ให้จำคุก 6 เดือน นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ผู้พิพากษา
มณี ชุติวงศ์
ไฉน บุญยก
โกวิท ถิระวัฒน์
กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!
-
นาวิน ขำแป้น
[ทนายความ]
วันที่เพิ่ม : วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 03:01:49
ปรับปรุงล่าสุด : วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 03:01:49
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 มาตรา ๓๓
ในการริบทรัพย์สิน นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินดังต่อไปนี้อีกด้วย คือ
(๑) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือ
(๒) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิด
เว้นแต่ทรัพย์สินเหล่านี้เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 มาตรา ๗๘
เมื่อปรากฏว่ามีเหตุบรรเทาโทษ ไม่ว่าจะได้มีการเพิ่มหรือการลดโทษตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นแล้วหรือไม่ ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นก็ได้
เหตุบรรเทาโทษนั้น ได้แก่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญาตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีคุณความดีมาแต่ก่อน รู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น ลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานหรือให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา หรือเหตุอื่นที่ศาลเห็นว่ามีลักษณะทำนองเดียวกันประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 มาตรา ๘๐
ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทำความผิด
ผู้ใดพยายามกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 มาตรา ๘๓
ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 มาตรา ๓๓๕
ผู้ใดลักทรัพย์
(๑) ในเวลากลางคืน
(๒) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
(๓) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(๔) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(๕) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(๖) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(๗) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(๘) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(๙) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ หรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ
(๑๐) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(๑๑) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(๑๒) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไปผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 1082 / 2549คำพิพากษาย่อสั้น
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันของผู้เสียหายเข้ามาจอดที่บริเวณบ้านของจำเลยที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขายน้ำมันที่จำเลยที่ 1 จะดูดออกจากถังน้ำมันของรถยนต์บรรทุกให้แก่จำเลยที่ 2 ขณะที่จำเลยที่ 1 ใช้คีมตัดลวดและซีลซึ่งใช้ปิดฝาถังน้ำมันเพื่อเปิดฝาถังน้ำมันออก โดยจำเลยที่ 2 ถือถังน้ำมันเตรียมไว้รองรับน้ำมันที่จำเลยที่ 1 จะลักมาขายให้ก็ถูกเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุม การที่จำเลยที่ 2 เตรียมถังน้ำมันไว้รองรับน้ำมันที่จำเลยที่ 1 จะลักจากรถยนต์บรรทุกน้ำมัน จำเลยที่ 2 ได้กระทำไปโดยมีเจตนาจะรับซื้อน้ำมันจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่อาจถือได้ว่าการที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 นำรถยนต์บรรทุกน้ำมันเข้ามาจอดในบริเวณบ้านของตนเป็นการกระทำโดยเจตนาช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ในการลักทรัพย์
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335, 80, 83, 33 และริบของกลาง
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (3) วรรคแรก, 80 จำคุก 1 ปี คำให้การจำเลยที่ 1 ชั้นจับกุมเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้จำเลยที่ 1 หนึ่งในสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 9 เดือน ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 รีบคีมของกลาง คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (3) วรรคแรก, 80, 86 จำคุก 8 เดือน จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพชั้นจับกุม เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 6 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า ในวันเวลา และสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันคันเกิดเหตุบรรทุกน้ำมันของบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ผู้เสียหาย มาจอดที่บ้านที่เกิดเหตุ ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจได้จับกุมจำเลยทั้งสองขณะจำเลยที่ 1 กำลังพยายามลักน้ำมันจากถังน้ำมันบนรถยนต์บรรทุกดังกล่าว คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 ยุติ คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษมาหรือไม่ โจทก์นำสืบโดยมีร้อยตำรวจตรีสมศักดิ์ วงศ์พรหม เบิกความว่า พยานเป็นผู้จับกุมจำเลยทั้งสอง โดยพยานเห็นรถยนต์บรรทุกน้ำมันคันที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับแล่นเลี้ยวลงไปที่ถนนข้างทางตรงไปที่บ้านของจำเลยที่ 2 พยานจึงลงจากรถไปแอบซุ่มดู เนื่องจากโดยปกติรถยนต์บรรทุกน้ำมันจะไม่จอดแวะที่ใดหากไม่ใช่สถานีบริการน้ำมัน พยานเห็นจำเลยที่ 1 ปีนรถขึ้นไปบนถังน้ำมันเพื่อเปิดฝาถังน้ำมัน โดยการใช้คีมตัดลวดและซีลซึ่งใช้ปิดฝาถังน้ำมันออก และขณะนั้นพยานพบจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านที่เกิดเหตุถือถังน้ำมันเดินมาจากข้างรถ เพื่อนำถังมารองรับน้ำมัน พยานจึงจับกุมจำเลยทั้งสองและแจ้งข้อหาว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 พยายามลักทรัพย์โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์ จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ตามบันทึกการจับกุมเอกสารหมาย ป.จ.2 เห็นว่า ข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวได้ความเพียงว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันของผู้เสียหายเข้ามาจอดที่บริเวณบ้านของจำเลยที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขายน้ำมันที่จำเลยที่ 1 จะดูดออกจากถังน้ำมันของรถยนต์บรรทุกให้แก่จำเลยที่ 2 ขณะที่จำเลยที่ 1 ใช้คีมตัดลวดและซีลซึ่งใช้ปิดฝาถังน้ำมันเพื่อเปิดฝาถังน้ำมันออก โดยจำเลยที่ 2 ถือถังน้ำมันเตรียมไว้รองรับน้ำมันที่จำเลยที่ 1 จะลักมาขายให้ก็ถูกเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุม การที่จำเลยที่ 2 เตรียมถังน้ำมันไว้รองรับน้ำมันที่จำเลยที่ 1 จะลักจากรถยนต์บรรทุกน้ำมัน จำเลยที่ 2 ได้กระทำไปโดยมีเจตนาจะรับซื้อน้ำมันจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่อาจจะถือได้ว่าการที่จำลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 นำรถยนต์บรรทุกน้ำมันเข้ามาจอดในบริเวณบ้านของตนเป็นการกระทำโดยเจตนาช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ในการลักทรัพย์ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยมา พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาช่วยเหลือหรือให้สะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ก่อนหรือขณะกระทำความผิด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดฐานพยายามลักทรัพย์นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังขึ้น"
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ผู้พิพากษา
พรเพชร วิชิตชลชัย
รุ่งโรจน์ รื่นเริงวงศ์
ปราโมทย์ พิพัทธ์ปราโมทย์
กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!
-
นาวิน ขำแป้น
[ทนายความ]
วันที่เพิ่ม : วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 02:04:21
ปรับปรุงล่าสุด : วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 02:04:21
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 มาตรา ๗๘
เมื่อปรากฏว่ามีเหตุบรรเทาโทษ ไม่ว่าจะได้มีการเพิ่มหรือการลดโทษตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นแล้วหรือไม่ ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นก็ได้
เหตุบรรเทาโทษนั้น ได้แก่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญาตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีคุณความดีมาแต่ก่อน รู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น ลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานหรือให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา หรือเหตุอื่นที่ศาลเห็นว่ามีลักษณะทำนองเดียวกันประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 มาตรา ๘๓
ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 มาตรา ๓๓๕
ผู้ใดลักทรัพย์
(๑) ในเวลากลางคืน
(๒) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
(๓) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(๔) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(๕) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(๖) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(๗) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(๘) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(๙) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ หรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ
(๑๐) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(๑๑) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(๑๒) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไปผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ก็ได้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 มาตรา ๓๓๙
ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
(๑) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป
(๒) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
(๓) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
(๔) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ
(๕) ให้พ้นจากการจับกุม
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าความผิดนั้นเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดแห่งมาตรา ๓๓๕ หรือเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกลหรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสี่แสนบาท
ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงสี่แสนบาท
ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 600 / 2544คำพิพากษาย่อสั้น
เมื่อผู้เสียหายเห็นจำเลยทั้งสองกำลังลักเอามะม่วงอยู่ และกำลังจะนำมะม่วงที่เด็ดจากขั้วไว้แล้วออกไปนอกสวน ผู้เสียหายจึงเข้าจับกุมตัวจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่าเหตุการณ์ตอนนี้การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ยังดำเนินอยู่ไม่ขาดตอน จำเลยที่ 2 ซึ่งในตอนแรกได้วิ่งหลบหนีไปสักครู่เดียวก็กลับมาพร้อมกับถือท่อนไม้ไผ่ตรงเข้าเงื้อจะตีทำร้ายผู้เสียหาย และในทันทีนั้นได้พูดขู่ผู้เสียหายว่า "วางเมียผมเดี๋ยวนี้ หากไม่วางจะตีพ่อใหญ่ให้ตาย" ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้พูดขู่เข็ญผู้เสียหายว่า ในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เสียหายปล่อยตัวจำเลยที่ 1 ให้พ้นจากการจับกุมอันเป็นการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์
คำพิพากษาย่อยาว
คดีนี้เดิมศาลชั้นต้นสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกันกับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2065/2541 ของศาลชั้นต้น โดยให้เรียกจำเลยในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 1 และเรียกจำเลยในสำนวนนี้ว่า จำเลยที่ 2 แต่คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 คงขึ้นมาสู่ศาลฎีกาเฉพาะคดีนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองสำนวน ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339, 83 ริบไม้ไผ่ของกลาง
จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 83 จำคุกคนละ 10 ปี จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่งคงจำคุกคนละ 5 ปี ริบไม้ไผ่ของกลาง
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(3)(7)(12) วรรคสาม (ที่ถูกวรรคสอง)ให้จำคุก 1 ปี จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คงจำคุก6 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 2 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2ประการแรกว่า จำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องหรือไม่ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่า ขณะที่จำเลยทั้งสองกำลังลักเอามะม่วงของผู้เสียหายอยู่นั้น ผู้เสียหายเห็นการกระทำจึงได้ตรงเข้าจับกุมตัวจำเลยที่ 1 ไว้ได้จากนั้นได้ลากตัวจำเลยที่ 1 มายังที่ที่มีสายไฟฟ้าวางอยู่เพื่อจะใช้สายไฟฟ้ามัดตัวไว้ส่วนจำเลยที่ 2 ได้วิ่งหลบหนีไปได้ประมาณ 15 เมตรแล้ววิ่งกลับมายังที่ที่ผู้เสียหายกำลังจับตัวจำเลยที่ 1 ไว้ ในมือจำเลยที่ 2 ถือท่อนไม้ไผ่ยาว 175 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว เงื้อจะตีผู้เสียหายพร้อมกับพูดว่า "วางเมียผมเดี๋ยวนี้ หากไม่วางจะตีพ่อใหญ่ให้ตาย" เห็นว่า เมื่อผู้เสียหายเห็นจำเลยทั้งสองกำลังลักเอามะม่วงอยู่นั้นและกำลังจะนำมะม่วงที่เด็ดจากขั้วไว้แล้วนั้นออกไปนอกสวน ผู้เสียหายเห็นการกระทำจึงเข้าจับกุมตัวจำเลยที่ 1 จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์ตอนนี้การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ยังดำเนินอยู่ยังไม่ขาดตอน จำเลยที่ 2 ซึ่งในตอนแรกได้วิ่งหลบหนีไปสักครู่เดียวก็กลับมาพร้อมกับถือท่อนไม้ไผ่ตรงเข้าเงื้อจะตีทำร้ายผู้เสียหาย และในทันทีนั้นได้พูดขู่ผู้เสียหายขึ้นว่า "วางเมียผมเดี๋ยวนี้ หากไม่วางจะตีพ่อใหญ่ให้ตาย" ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ขู่เข็ญผู้เสียหายว่า ในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายทั้งนี้เพื่อให้ผู้เสียหายปล่อยตัวจำเลยที่ 1 ให้พ้นจากการจับกุมอันเป็นการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ได้บัญญัติถึงเจตนาของผู้กระทำไว้หลายประการด้วยกันที่จะถือว่าเป็นการชิงทรัพย์ หาใช่เป็นเพียงแต่การใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์ หรือพาทรัพย์นั้นไปหรือให้พ้นจากการจับกุมเท่านั้นไม่ ยังมีเจตนาในประการอื่นอีก หาเป็นดังที่จำเลยที่ 2 ฎีกาไม่ ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าคำเบิกความของจ่าสิบตำรวจละม้าย สกลพิทักษ์เกี่ยวกับขนาดของไม้ไผ่ท่อนที่ใช้เป็นอาวุธแตกต่างกันเป็นพยานที่เชื่อถือไม่ได้นั้น เห็นว่า คำเบิกความดังกล่าวเป็นเพียงการเบิกความถึงรายละเอียดเล็กน้อยเป็นพลความ หาใช่สาระสำคัญไม่
ปัญหาวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า คดีมีเหตุอันควรที่จะลงโทษจำเลยที่ 2ในสถานเบาหรือรอการลงโทษหรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคสอง กำหนดโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงสิบห้าปี ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนดสิบปีอันเป็นอัตราโทษขั้นต่ำสุดแล้วจึงไม่อาจลดโทษจำคุกแก่จำเลยที่ 2 ได้อีก ส่วนปัญหาในเรื่องการรอการลงโทษนั้น เมื่อศาลล่างทั้งสองได้ลงโทษจำคุกแก่จำเลยที่ 2 ในชั้นที่สุดมีกำหนด 5 ปี เช่นนี้เป็นการลงโทษจำคุกเกินสองปีจึงไม่อาจรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 แก่จำเลยที่ 2 ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน
ผู้พิพากษา
วิบูลย์ มีอาสา
สุวัฒน์ สุขเกษม
วีระศักดิ์ รุ่งรัตน์
กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!
-
นาวิน ขำแป้น
[ทนายความ]
วันที่เพิ่ม : วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 22:33:49
ปรับปรุงล่าสุด : วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 22:33:49
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 มาตรา ๓๓๕
ผู้ใดลักทรัพย์
(๑) ในเวลากลางคืน
(๒) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
(๓) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(๔) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(๕) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(๖) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(๗) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(๘) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(๙) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ หรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ
(๑๐) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(๑๑) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(๑๒) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไปผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 2972 / 2563# โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ของนายจ้างและในเวลากลางคืน ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ของนายจ้าง ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยักยอก จึงพิพากษาลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ ต่อมาก่อนพนักงานอัยการโจทก์ยื่นฎีกา ผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์และศาลชั้นต้นอนุญาตจำหน่ายคดีไปแล้ว หลังจากนั้นอัยการสูงสุดอนุญาตให้พนักงานอัยการโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง กรณีเช่นนี้ ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยฎีกาของพนักงานอัยการโจทก์ได้หรือไม่
*ฎีกาที่ 2972/2563 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (11) รวม 58 กรรม และฐานลักทรัพย์ของนายจ้างในเวลากลางคืน ตามมาตรา 335 (1) (11) รวม 15 กรรม อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดินและศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ของนายจ้างตามมาตรา 335 (11) รวม 73 กรรม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 จึงพิพากษาลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม ฉะนั้น เมื่อยังไม่มีคำพิพากษาศาลฎีกาเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ก็ต้องถือว่าคดีนี้เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวตามที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา การที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลชั้นต้นก่อนโจทก์ยื่นฎีกาและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์แล้วนั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) และจำหน่ายคดีไปแล้ว ดังนั้น คำพิพากษาศาลล่างก็ย่อมระงับไปในตัวไม่มีผลบังคับต่อไป กรณีไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่โจทก์จะยื่นคัดค้านได้อีก
กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!
-
นาวิน ขำแป้น
[ทนายความ]
วันที่เพิ่ม : วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 21:49:18
ปรับปรุงล่าสุด : วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 04:50:50
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 มาตรา ๓
ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีถึงที่สุดแล้ว แต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้วดังต่อไปนี้
(๑) ถ้าผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษ หรือกำลังรับโทษอยู่ และโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง เมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล หรือเมื่อผู้กระทำความผิด ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้นหรือพนักงานอัยการร้องขอ ให้ศาลกำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ในการที่ศาลจะกำหนดโทษใหม่นี้ ถ้าปรากฏว่า ผู้กระทำความผิดได้รับโทษมาบ้างแล้ว เมื่อได้คำนึงถึงโทษตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังหากเห็นเป็นการสมควรศาลจะกำหนดโทษน้อยกว่าโทษขั้นต่ำที่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังกำหนดไว้ถ้าหากมีก็ได้ หรือถ้าเห็นว่าโทษที่ผู้กระทำความผิดได้รับมาแล้วเป็นการเพียงพอ ศาลจะปล่อยผู้กระทำความผิดไปก็ได้
(๒) ถ้าศาลพิพากษาให้ประหารชีวิตผู้กระทำความผิด และตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง โทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ถึงประหารชีวิต ให้งดการประหารชีวิตผู้กระทำความผิด และให้ถือว่าโทษประหารชีวิตตามคำพิพากษาได้เปลี่ยนเป็นโทษสูงสุดที่จะพึงลงได้ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาตรา ๙๑
เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนด ดังต่อไปนี้
(๑) สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี
(๒) ยี่สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี
(๓) ห้าสิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิตประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 มาตรา ๒๙๕
ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 มาตรา ๓๓๕
ผู้ใดลักทรัพย์
(๑) ในเวลากลางคืน
(๒) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
(๓) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(๔) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(๕) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(๖) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(๗) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(๘) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(๙) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ หรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ
(๑๐) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(๑๑) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(๑๒) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไปผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ก็ได้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 มาตรา ๓๓๖
ผู้ใดลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ผู้นั้นกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาทประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 มาตรา ๓๓๙
ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
(๑) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป
(๒) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
(๓) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
(๔) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ
(๕) ให้พ้นจากการจับกุม
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าความผิดนั้นเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดแห่งมาตรา ๓๓๕ หรือเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกลหรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสี่แสนบาท
ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงสี่แสนบาท
ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 3520 / 2563พนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง โจทก์
นางสาว อ. ผู้ร้อง
นาย ม. จำเลย
ประมวลกฎหมายอาญา : การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย หลายกรรมต่างกัน ทำร้ายร่างกาย ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ มาตรา 3, 91, 295, 335(1), 336 , 339 วรรคสอง วรรคสาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา : บรรยายฟ้อง โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ความผิดตามที่ฟัองรวมการกระทำหลายอย่าง มาตรา 158 (8), 192 วรรคสี่ วรรคท้าย
ขณะที่จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย จำเลยยังไม่มีเจตนาที่จะเอาสร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหายไป แต่เป็นเพราะจำเลยรู้สึกโกรธที่ใช้บริการทางเพศกับผู้เสียหายยังไม่เสร็จ ผู้เสียหายก็ผละออกไป การที่จำเลยกระชากเอาสร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหายไปเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นหลังจากที่จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายแล้ว การกระทำของจำเลยจึงมิได้เป็นการลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย อันจะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่เป็นการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายตอนหนึ่ง และกระชากเอาสร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหายไปโดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอีกตอนหนึ่ง แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยฉกฉวยเอาสร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหายไปซึ่งหน้า อันเป็นองค์ประกอบฐานวิ่งราวทรัพย์ และคำขอท้ายฟ้องมิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์มาด้วย จึงลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ไม่ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสองและวรรคสาม ถือว่าความผิดฐานชิงทรัพย์ที่โจทก์บรรยายฟ้องมารวมการกระทำหลายอย่าง
แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลย่อมลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 และฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1) วรรคหนึ่งได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย อันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
ภายหลังจำเลยกระทำความผิดมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ให้ยกเลิกอัตราโทษใน มาตรา 295 ให้ใช้อัตราโทษใหม่แทน และ มาตรา 15 ให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา 335 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ให้ใช้อัตราโทษใหม่แทนโดยระวางโทษจำคุกตามกฎหมายใหม่กับกฎหมายเดิมเท่ากัน แต่ระวางโทษปรับตามกฎหมายใหม่สูงกว่ากฎหมายเดิม กฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!
-
นาวิน ขำแป้น
[ทนายความ]
วันที่เพิ่ม : วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 18:10:43
ปรับปรุงล่าสุด : วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 18:10:43
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 มาตรา ๓๓๕
ผู้ใดลักทรัพย์
(๑) ในเวลากลางคืน
(๒) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
(๓) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(๔) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(๕) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(๖) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(๗) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(๘) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(๙) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ หรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ
(๑๐) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(๑๑) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(๑๒) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไปผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ก็ได้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ มาตรา ๓๓๖ ทวิ
ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา ๓๓๔ มาตรา ๓๓๕ มาตรา ๓๓๕ ทวิ หรือมาตรา ๓๓๖ โดยแต่งเครื่องแบบทหารหรือตำรวจหรือแต่งกายให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำรวจหรือโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 320 / 2562การกระทำโดยเล็งเห็นผล หมายความว่า ผลนั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอนเท่าที่บุคคลในภาวะเช่นนั้นจะเล็งเห็นได้ มิใช่เพียงเล็งเห็นว่าผลนั้นอาจเกิดขึ้นได้
การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันกระชากกระเป๋าสะพายของผู้เสียหายอย่างแรง เป็นเพียงวิธีการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปเท่านั้น รถจักรยานอาจจะล้มหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น แม้รถจักรยานของผู้เสียหายจะล้มลง ก็เป็นผลมาจากแรงกระชากกระเป๋าของจำเลยที่ 2 หาใช่จำเลยทั้งสองกระทำโดยมีเจตนาเล็งเห็นผลที่จะใช้กำลังประทุษร้ายแก่ผู้เสียหายแต่อย่างใด ทั้งผู้เสียหายก็ไม่มีบาดแผลจากการล้มลงปรากฏให้เห็น ประกอบกับโจทก์บรรยายฟ้องว่าแรงกายภาพที่จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำนั้น ไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้เสียหาย สภาพเช่นนี้จึงยังไม่พอให้ถือว่าเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย ตามความหมายของ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (6) การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดตามมาตรา 335 (1)(7) วรรคสอง ประกอบมาตรา 336 ทวิ ไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์
กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!
-
นาวิน ขำแป้น
[ทนายความ]
วันที่เพิ่ม : วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 16:58:09
ปรับปรุงล่าสุด : วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 17:00:09
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 มาตรา ๓๓๔
ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาทประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 มาตรา ๓๓๕
ผู้ใดลักทรัพย์
(๑) ในเวลากลางคืน
(๒) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
(๓) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(๔) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(๕) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(๖) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(๗) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(๘) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(๙) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ หรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ
(๑๐) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(๑๑) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(๑๒) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไปผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 877 / 2501 (ประชุมใหญ่)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2501)
การลักกระแสไฟฟ้า ย่อมเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 หรือ 335 แล้วแต่กรณี
_______________________________
: ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 :
"ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้"
เมื่อพิจารณาจากหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่ากระแสไฟฟ้า แม้เป็นจะทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง และมองไม่เห็นแต่ก็อาจจะมีราคาและอาจถือเอาได้ ดังนั้น กระแสไฟฟ้าจึงเป็นทรัพย์สิน ตามความหมายใน มาตรา 138 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!
-
นาวิน ขำแป้น
[ทนายความ]
วันที่เพิ่ม : วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 22:26:14
ปรับปรุงล่าสุด : วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 22:26:14
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 มาตรา ๓๓๕
ผู้ใดลักทรัพย์
(๑) ในเวลากลางคืน
(๒) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
(๓) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(๔) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(๕) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(๖) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(๗) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(๘) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(๙) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ หรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ
(๑๐) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(๑๑) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(๑๒) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไปผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 5215 / 2557จำเลยมิได้เป็นลูกจ้างของผู้เสียหาย แม้จำเลยร่วมกันลักทรัพย์กับ น. ซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายก็ตาม จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (11) ทั้งนี้เพราะความเป็นลูกจ้างเป็นเหตุเฉพาะตัวของ น. จึงไม่มีผลไปถึงจำเลยด้วย
กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!
-
นาวิน ขำแป้น
[ทนายความ]
วันที่เพิ่ม : วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 22:30:30
ปรับปรุงล่าสุด : วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 22:30:30
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 มาตรา ๓๓๕
ผู้ใดลักทรัพย์
(๑) ในเวลากลางคืน
(๒) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
(๓) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(๔) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(๕) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(๖) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(๗) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(๘) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(๙) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ หรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ
(๑๐) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(๑๑) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(๑๒) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไปผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 12888 / 2558จำเลยทั้งสองร่วมกันลักเงินของโจทก์ร่วมไป จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างมีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7) (11) วรรคสอง ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นลูกจ้างย่อมไม่อาจร่วมกันลักทรัพย์ของนายจ้างได้ แต่ก็ถือว่าร่วมกันลักทรัพย์ตั้งแต่สองคนขึ้นไปผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7)
กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!
-
นาวิน ขำแป้น
[ทนายความ]
วันที่เพิ่ม : วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 19:11:37
ปรับปรุงล่าสุด : วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 19:19:29
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 มาตรา ๓๓๕
ผู้ใดลักทรัพย์
(๑) ในเวลากลางคืน
(๒) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
(๓) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(๔) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(๕) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(๖) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(๗) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(๘) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(๙) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ หรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ
(๑๐) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(๑๑) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(๑๒) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไปผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 2387 / 2564จำเลยเป็นลูกจ้างผู้เสียหาย มีหน้าที่ขายรถยนต์ให้ลูกค้าของผู้เสียหายและเก็บเงินจากลูกค้าไม่ว่าจะเป็นเงินค่าจองรถ ค่าดาวน์รถกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เกี่ยวกับการซื้อขายรถซึ่งได้รับจากลูกค้าที่ซื้อรถจากผู้เสียหาย เงินจำนวนต่าง ๆ ที่จำเลยรับไว้จากลูกค้า เป็นการรับเงินไว้ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกจ้างผู้เสียหาย ซึ่งมีหน้าที่ติดต่อกับลูกค้าผู้มาซื้อรถ จำเลยเพียงแต่รับเงินและยึดถือไว้ชั่วคราวก่อนจะนำส่งมอบให้ผู้เสียหายเท่านั้น อำนาจในการครอบครองควบคุมดูแลเงินดังกล่าวจึงเป็นของผู้เสียหาย เมื่อจำเลยรับเงินจากลูกค้าของผู้เสียหายรวม 7 ครั้งแล้วเอาเงินดังกล่าวไปโดยทุจริต การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (11) วรรคแรก
________________
คดีนี้ไม่เข้ายักยอกทรัพย์เพราะ : เซลล์มีหน้าที่ขาย ไม่ได้มีหน้าที่รับเงินจากลูกค้า เงินที่ลูกค้าจ่ายมาจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัททันที จึงไม่เป็นการที่เซลล์ครอบครองเงินแทนบริษัท
กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!
-
นาวิน ขำแป้น
[ทนายความ]
วันที่เพิ่ม : วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 01:25:59
ปรับปรุงล่าสุด : วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 02:54:13
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 มาตรา ๓๓๔
ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาทประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 มาตรา ๓๓๕
ผู้ใดลักทรัพย์
(๑) ในเวลากลางคืน
(๒) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ
(๓) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(๔) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(๕) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(๖) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(๗) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(๘) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(๙) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ หรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ
(๑๐) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(๑๑) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(๑๒) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไปผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ก็ได้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 มาตรา ๓๔๑
ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 มาตรา ๓๕๗
ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอกหรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำเพื่อค้ากำไรหรือได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๕ (๑๐) ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำต่อทรัพย์ อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๕ ทวิ การชิงทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๙ ทวิ หรือการปล้นทรัพย์ตามมาตรา ๓๔๐ ทวิ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 6863 / 2543 (ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาย่อสั้น
การกระทำของจำเลยที่กล่าวอ้างต่อผู้เสียหายว่าจะติดต่อให้ผู้เสียหายไถ่รถยนต์กระบะคืนจากคนร้าย และเรียกร้องเงินโดยอ้างเป็นค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการจำนวน 3,500 บาท กับอ้างว่าคนร้ายต้องการค่าไถ่จำนวน50,000 บาท แต่ก็ไม่เกิดผลตามที่จำเลยอ้าง แม้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยและให้จำเลยนำไปบ้านของผู้มีชื่อที่อ้างว่าเป็นที่ซ่อนรถยนต์กระบะก็ไม่พบ ยังไม่เพียงพอให้รับฟังได้ว่าเป็นการช่วยจำหน่ายรถยนต์กระบะของผู้เสียหายซึ่งถูกคนร้ายลักไปอันจะทำให้จำเลยต้องมีความผิดฐานรับของโจรแต่พยานหลักฐานดังกล่าวรับฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หลอกลวงผู้เสียหายเพื่อให้เงินแก่จำเลยและได้รับไปแล้ว จำนวน 3,500 บาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า มีคนร้ายลักรถยนต์กระบะของผู้เสียหายไป ต่อมาผู้เสียหายนำเจ้าพนักงานจับจำเลยได้ ทั้งนี้ ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุลักทรัพย์จำเลยเป็นคนร้ายลักรถยนต์กระบะของผู้เสียหายไป หรือมิฉะนั้นระหว่างวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุลักทรัพย์ถึงวันที่ 28 กรกฎาคม 2540 เวลากลางคืนหลังเที่ยง วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยรับไว้ ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสียซึ่งรถยนต์กระบะคันดังกล่าวโดยจำเลยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334, 335, 357
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 วรรคแรก จำคุก 5 ปี ข้อหาและคำขออื่นให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 จำคุก 6 เดือน และปรับ 2,000 บาท เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยเคยรับโทษจำคุกมาก่อน เห็นควรให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ข้อหาและคำขออื่นให้ยก
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นยุติโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโต้แย้งว่า เมื่อระหว่างกลางคืนวันที่ 25 ต่อเนื่องวันที่ 26 พฤษภาคม 2540 มีคนร้ายลักรถยนต์กระบะของนายสมนึก สินไชย ผู้เสียหาย ไปจากบริเวณข้างบ้านพัก ต่อมาจำเลยได้กล่าวอ้างว่าสามารถติดต่อกับคนร้ายได้และเรียกเงินค่าใช้จ่ายจากผู้เสียหายและได้ไปจำนวนหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ผู้เสียหายและจำเลยไม่เคยรู้จักกันมาก่อน แต่ในที่สุดผู้เสียหายก็ยังไม่ได้รถยนต์กระบะคืน จึงแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยดำเนินคดีนี้ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจรหรือไม่ โจทก์มีผู้เสียหาย นายสมคิด รอดภัย ลูกจ้างของผู้เสียหายและพันตำรวจโทบรรลือ ชูเวทย์ สารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมืองตรัง เป็นพยานเบิกความให้ข้อเท็จจริงต่อเนื่องกันว่า เมื่อรถยนต์กระบะของผู้เสียหายถูกลักไปจำเลยไปหานายสมคิดอาสาจะสืบหาให้ นายสมคิดจึงพาจำเลยไปพบผู้เสียหาย จำเลยบอกผู้เสียหายว่ารถยนต์กระบะที่ถูกลักไปอยู่ไม่ไกลจากบ้านของผู้เสียหาย ผู้เสียหายแจ้งให้จำเลยทราบว่าขอไถ่รถยนต์กระบะคืนจากคนร้ายหลังจากนั้นจำเลยเรียกร้องเงินจากผู้เสียหายอ้างเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการขอไถ่รถยนต์กระบะคืน ผู้เสียหายจ่ายเงินให้จำเลยไป 2 คราว รวมเป็นเงิน 3,500 บาท จำเลยแจ้งว่าคนร้ายต้องการค่าไถ่จำนวน 60,000 บาท ผู้เสียหายต่อรองเหลือ 30,000 บาท ต่อมาจำเลยแจ้งว่าคนร้ายลดค่าไถ่ให้เหลือ 50,000 บาท แต่ในที่สุดจำเลยก็แจ้งแก่ผู้เสียหายว่าจะไม่ยอมให้ผู้เสียหายไถ่รถยนต์กระบะเพราะไม่พอใจผู้เสียหายที่ให้นายอั้น รักษาชล กำนันในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราชช่วยสืบหารถยนต์กระบะด้วยผู้เสียหายจึงวางแผนให้จำเลยไปพบและแจ้งให้พันตำรวจโทบรรลือกับพวกทำการจับกุม ชั้นจับกุมจำเลยรับว่าร่วมกับพวกเป็นคนร้ายลักรถยนต์กระบะของผู้เสียหาย เห็นว่า จากพยานหลักฐานโจทก์เท่าที่ปรากฏ โจทก์มิได้รถยนต์กระบะที่ถูกลักคืนจากคนร้าย คดีคงมีเพียงข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าจำเลยกล่าวอ้างต่อผู้เสียหายว่าจะติดต่อให้ผู้เสียหายไถ่รถยนต์กระบะคืนจากคนร้าย และเรียกร้องเงินโดยอ้างเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการไปจากผู้เสียหาจำนวน 3,500 บาท กับอ้างว่าคนร้ายต้องการค่าไถ่จำนวน 50,000 บาท แต่ก็ไม่เกิดผลตามที่จำเลยอ้าง ซึ่งแม้จำเลยถูกผู้เสียหายวางแผนให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลย และให้จำเลยนำไปที่บ้านของนายไข่ขาว (ไม่ปรากฏชื่อสกุล) อยู่ที่บ้านควนสมบูรณ์ ตำบลท่าประจักษ์หรือท่าประจะ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยจำเลยอ้างว่ารถยนต์กระบะของผู้เสียหายถูกนำไปซุกซ่อนไว้ ก็ไม่พบรถยนต์กระบะดังกล่าว พยานหลักฐานโจทก์เพียงเท่านี้จึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้โดยสนิทใจว่า การกระทำของจำเลยเป็นการช่วยจำหน่ายรถยนต์กระบะของผู้เสียหายซึ่งถูกคนร้ายลักไป อันจะทำให้จำเลยต้องมีความผิดฐานรับของโจร แต่พยานหลักฐานโจทก์ดังกล่าวมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า จำเลยมีเจตนาทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จหลอกลวงผู้เสียหายเพื่อให้เงินแก่จำเลยและจำเลยได้ไปแล้วจำนวน 3,500 บาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยปรับบทไว้ พยานจำเลยซึ่งนำสืบต่อสู้ในทำนองจำเลยเพียงแต่มีเจตนาช่วยเหลือผู้เสียหายนั้นขัดแย้งต่อเหตุผลและผิดวิสัยที่คนซึ่งไม่เคยรู้จักกันมาก่อนจะกล้าสอดเข้าไปเป็นตัวกลางระหว่างคนร้ายกับผู้เสียหายในการเรียกร้องค่าไถ่รถยนต์กระบะดังกล่าวเพราะรังแต่จะเสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาว่าร่วมกระทำผิดกับคนร้ายที่ลักรถยนต์กระบะของผู้เสียหายไป พยานจำเลยจึงไม่มีน้ำหนักรับฟังหักล้างพยานโจทก์ แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 กำหนดโทษจำเลยเพียงจำคุก 6 เดือนปรับ 2,000 บาท และรอการลงโทษจำคุกให้นั้น ศาลฎีกาพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว เห็นว่า โทษดังกล่าวเบาไปไม่เหมาะสมแก่การกระทำของจำเลย จึงเห็นสมควรแก้ไขโทษที่ลงแก่จำเลยเสียใหม่และไม่รอการลงโทษจำคุกฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน"
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยจำคุก 2 ปี นอกจากที่แก้คงเป็นตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9
ผู้พิพากษา
สมชาย จุลนิติ์
ระพินทร บรรจงศิลป
ชวลิต ตุลยสิงห์
กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!
-
Visitor Statistics
» 2 Online
» 13 Today
» 124 Yesterday
» 898 Week
» 4505 Month
» 201437 Year
» 1452842 Total
Record: 10208 (10.06.2023)