มาตรา 83 | ประมวลกฎหมายอาญา |

 

ประมวลกฎหมาย
อาญา
ภาค ๑ บทบัญญัติทั่วไป

ภาค ๑ บทบัญญัติทั่วไป

ลักษณะ ๑ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป

หมวด ๖ ตัวการและผู้สนับสนุน

หน้าก่อน

 

     มาตรา ๘๓  ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

หนังสือประมวลกฎหมายอาญา

 

คำอธิบาย

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]

    วันที่บันทึก : วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 18:47:25
    วันที่ปรับปรุง : วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 20:12:04


    ตัวการในการกระทำความผิด คือ บุคคลที่มีการกระทำร่วมและเจตนาร่วมกับบุคคลอื่นในการกระทำความผิดอาญา
    การกระทำร่วมกันอาจเป็นกรณีที่บุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปร่วมกระทำส่วนใดส่วนหนึ่งอันเป็นองค์ประกอบความผิด หรือเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ หรือร่วมอยู่ในที่เกิดเหตุในลักษณะที่สามารถเข้าช่วยเหลือผู้กระทำคนอื่นทันทีก็ได้ ผู้กระทำความผิดทุกคนมีเจตนาร่วมกัน ได้รู้ถึงการกระทำของกันและกัน และต่างถือเอาการกระทำของคนอื่นเป็นการกระทำของตนเอง การรับโทษของตัวการแต่ละคนต้องรับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการกระทำที่เป็นความผิดนั้น แต่อาจจะรับโทษเท่ากันหรือไม่ก็ได้

    ดังนั้น หลักเกณฑ์ของการเป็น "ตัวการร่วม" คือ
    1. มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
    2. ได้ร่วมกันกระทำความผิดด้วยกัน
    3. มีเจตนาที่จะร่วมกันกระทำความผิดนั้น

    1. ต้องมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพราะหากมีบุคคลคนเดียวกระทำความผิด ผู้นั้นก็ต้องรับโทษฐานเป็นผู้กระทำความผิดนั้นๆ อยู่แล้ว แต่หากเป็นบุคคลหลายคนร่วมกันทำความผิด จึงถือว่า เป็นตัวการ หากต่างคนต่างทำ เช่น ร้านขายของสะดวกซื้อ นาย ก เดินเข้าไปขโมยบุหรี่ นาย ข ที่ไม่รู้จักนาย ก เห็นเช้า ก็ถือโอกาสตอนเจ้าของร้านเผลอ ขโมยเหล้าไป ดังนี้ เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งต่างคนต่างต้องรับผิดในการกระทำของตนเอง

    ดังนั้น การที่จะเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดนั้น ต้องเป็นบุคคลตั้งแต่ 2 คนร่วมกันในความผิดนั้นๆ เช่น การตกลงกันที่จะเข้าไปลักทรัพย์ 2 คนเป็นต้น

    2. ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน ซึ่งอาจเป็นการแบ่งหน้า
    ที่กันทำเพื่อให้ความผิดนั้นสำเร็จ ในการกระทำที่ร่วมกันนั้น บางหน้าที่นั้น บางการกระทำก็เป็นความผิดในตัวมันเอง เช่น นาย ก ตีหัวนาย ข และให้นาย ค เป็นคนล้วงเงินในกระเป๋าและปลดสร้อย ก็ถือเป็นการร่วมกันกระทำความผิด ฐาน ชิงทรัพย์ บางหน้าที่อาจไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย เช่น นาย ก ต้องการจะยิงนาย แต่เนื่องจากอยู่ในที่มืด นาย ค ซึ่งเตรียมการมาแล้วกับนาย ก จึงฉายไฟไปยังคนที่ต้องการจะยิง นาย ข ถูกยิงถึงแก่ความตาย นาย ก และนาย ค มีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกัน ฆ่านาย ข

    3. มีเจตนาที่จะร่วมกันกระทำความผิดนั้น หมายความว่า บุคคล 2 คนขึ้นไป ร่วมกันกระทำความผิด จะต้องมีเจตนาร่วมกันกระทำความผิด คือ ต้องรู้สึกในการกระทำและประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น แต่หากไม่มีเจตนาร่วมกันมาตั้งแต่แรก ก็ไม่ถือว่าเป็นตัวการร่วม อาจเป็นผู้กระทำความผิดในอีกฐานความผิดหนึ่ง หรือเป็นผู้สนับสนุนในฐานความผิดนั้นๆ ที่เข้าร่วมได้



    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

คำพิพากษาศาลฎีกา

แสดงความคิดเห็น

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]
    วันที่เพิ่ม : วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 02:36:42
    ปรับปรุงล่าสุด : วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 18:07:43


    ตัวการในการกระทำความผิด คือ บุคคลที่มีการกระทำร่วมและเจตนาร่วมกับบุคคลอื่นในการกระทำความผิดอาญา
    การกระทำร่วมกันอาจเป็นกรณีที่บุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปร่วมกระทำส่วนใดส่วนหนึ่งอันเป็นองค์ประกอบความผิด หรือเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ หรือร่วมอยู่ในที่เกิดเหตุในลักษณะที่สามารถเข้าช่วยเหลือผู้กระทำคนอื่นทันทีก็ได้ ผู้กระทำความผิดทุกคนมีเจตนาร่วมกัน ได้รู้ถึงการกระทำของกันและกัน และต่างถือเอาการกระทำของคนอื่นเป็นการกระทำของตนเอง การรับโทษของตัวการแต่ละคนต้องรับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการกระทำที่เป็นความผิดนั้น แต่อาจจะรับโทษเท่ากันหรือไม่ก็ได้

    ประมวลกฎหมายอาญา-มาตรา-83




    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

บันทึกส่วนตัว

Visitor Statistics
» 2 Online
» 9 Today
» 124 Yesterday
» 894 Week
» 4501 Month
» 201433 Year
» 1452838 Total
Record: 10208 (10.06.2023)
Free PHP counter